กระบวนการพัฒนาเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋วของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

Main Article Content

อุมาพร ประชาชิต
กิจติพงษ์ ประชาชิต
สโมสร อูบคำ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพัฒนาต้นแบบเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋ว ของทุเรียนภูเขาไฟจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อประเมินคุณภาพการออกแบบเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋วของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเก็บข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบพัฒนาเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋ว และใช้แบบประเมินคุณภาพการออกแบบเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋ว เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ประเภทเครื่องแต่งกาย จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 นักออกแบบเครื่องแต่งกายหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน รวมกลุ่มเป้าหมาย 39 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการศึกษา 1) กระบวนการพัฒนาต้นแบบเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋ว ของทุเรียนภูเขาไฟจังหวัดศรีสะเกษ พบว่าการออกแบบเครื่องประดับอยู่ภายใต้แนวคิด BCG และแนวคิด “อารยธรรมไทศรีสะเกษ” โดยใช้รูปทรงของดอกลำดวนมาเป็นแนวทางและส่วนประกอบที่สำคัญในการออกแบบ ใช้งานฝีมือประเภทเชือกถัก ลวดถัก และการตีกำไล พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับทุเรียนจิ๋ว 6 ผลิตภัณฑ์ และ 2) ประเมินคุณภาพการออกแบบเครื่องประดับจากผลทุเรียนจิ๋วของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสร้อยคอทุเรียนภูเขาไฟ มีคุณภาพการออกแบบสูงสุด ค่าเฉลี่ย 4.45 โดยมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามแนวคิดอารยะธรรมไทศรีสะเกษ รองลงมาคือ ต่างหูทุเรียนภูเขาไฟ ปิ่นปักผม เข็มกลัด กำไลข้อมือ และจรหู ตามลำดับ โดยทุกผลิตภัณฑ์เป็นการออกแบบผสมผสานระหว่างวัตถุดิบในท้องถิ่นกับวัสดุงานฝีมือ มีรูปแบบที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้ในชีวิตประจำวันกับชุดทำงานหรือชุดออกงานสวยหรูได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนินทร ท้าวธงชัย. (2566). สัมภาษณ์. 22 มีนาคม 2566. ณ สวนบุญส่ง ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ.

บริษัท อินโนเวชั่น เทคโนโลยี จำกัด. (2565). BCG คืออะไร?และสำคัญอย่างไร?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://inno.co.th/bcg-คืออะไร

สุพัจนา ลิ่มวงศ์ และ พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2556). การออกแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบร่วมกัน เพื่อเพิ่มโอกาสใช้สอยสำหรับออกงาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 1 (2), 12 - 20.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). BCG Economy Model คืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/what-is-bcg-economy-model/