ประสิทธิผลการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

กิตติพล บัวทะลา
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ คณะกรรมการแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) จำนวน 230 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารและปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอที่เคยได้รับรางวัลการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression)
          ผลการวิจัย
          1. ระดับประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05 ) มากที่สุด คือด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล ( = 4.05) รองลงมาคือด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน( = 4.07) และต่ำที่สุด คือด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( = 3.9) ส่วนปัจจัยการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มากที่สุด คือด้านความชัดเจนของแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ ( = 4.10) และต่ำที่สุด คือด้านทรัพยากรในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติ ( = 3.80)
          2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ โดยภาพรวมค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวก มีค่าอยู่ในช่วง .889 ถึง .773 โดยตัวแปรด้าน ความชัดเจน ทรัพยากร การติดต่อสื่อสาร และสมรรถนะของหน่วยงานที่นำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
          3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ พบว่าการมีเป้าหมายของแผนบูรณาการนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ได้แก่ เงื่อนเวลา ปริมาณ คุณภาพ สถานที่ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จริง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังโครงการ ความจำเป็นเร่งด่วน ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ 4 ด้าน คือ 1) ด้านความชัดเจน 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร 3) ด้านสมรรถนะของหน่วยงาน 4) ด้านทรัพยากร ประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 3 ด้าน คือ 1) ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล 2) ด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน 3) ด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วนําไปใช้ในการพัฒนาการจัดทําแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ต่างๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

จิราพร สามิบัติ. (2560). ประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์

บวร มูลสมบัติ. (2556). ประสิทธิผลของการนำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2554 – 2556) กรณีศึกษา : องค์การ

บริหารส่วนตำบลหลักชัยอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

มูฮัมหมัด โละซิ. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

Janice Morphet. (2010). THE RTPI Library Series (2010, 5-6)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 - 2560

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 รวมแก้ไขเพิ่มถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 รวมแก้ไขเพิ่มถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 รวมแก้ไขเพิ่มถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561