กลวิธีการใช้ภาษาและการโน้มน้าวใจในโฆษณาส่งเสริมสุขภาพจากนิตยสารชีวจิต พ.ศ. 2563-2564

Main Article Content

นงลักษณ์ สุขทั่ว
จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาโฆษณาส่งเสริมสุขภาพในนิตยสารชีวจิต ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 2) เพื่อศึกษาการใช้ภาษาโน้มน้าวใจที่ปรากฏในโฆษณาส่งเสริมสุขภาพในนิตยสารชีวจิต ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ศึกษาจากชื่อสินค้า   คำโฆษณาของสินค้าหรือข้อความโฆษณา ซึ่งรวบรวมจำนวนข้อความการโฆษณาส่งเสริมสุขภาพในนิตยสาร  ชีวจิตได้ทั้งหมด 91 ข้อความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลโฆษณาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจากนิตยสารชีวจิต พ.ศ. 2563-2564 2) แบบวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาโฆษณาส่งเสริมสุขภาพจากนิตยสารชีวจิตปี พ.ศ. 2563-2564
          ผลการวิจัย พบว่า กลวิธีการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คำ คือ คำขอบเขตความหมายต่างกันจำนวน     13 คำ รองลงมา ความหมายคล้ายกันแต่มีที่ใช้ต่างกันจำนวน 8 คำ ความหมายคล้ายกันแต่มีระดับหรือน้ำหนักต่างกันจำนวน 2 คำ ความหมายอุปมาจำนวน 1 คำ มีความหมายนัยประหวัดจำนวน 1 คำ ตามลำดับ กลวิธีการโน้มน้าวใจ พบว่ามีจำนวน 3 กลวิธี ได้แก่ จุดจูงใจด้านเหตุผลและข้อโต้แย้ง มีจำนวนทั้งหมด  72 รายการ รองลงมา คือ การใช้ความหมายตรง และความหมายแฝง มีจำนวนทั้งหมด 55 รายการ แบ่งออกเป็นความหมายตรง 54 รายการ และความหมายแฝง 1 รายการ จุดจูงใจด้านอารมณ์และความรู้สึก มีจำนวนทั้งหมด 19 รายการ และการใช้ภาษาสละสลวย 1 รายการ ตามลำดับ ผลการศึกษาทำให้เห็นลักษณะการใช้ถ้อยคำ และการใช้ภาษาโน้มน้าวใจในนิตยสารชีวจิตเป็นประโยชน์สำหรับวงการธุรกิจในรูปแบบต่างๆ นำไปปรับใช้ในการเขียนโฆษณาในสื่อต่างๆ ให้มีความน่าสนใจ และสามารถดึงดูดใจกลุ่มผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
          ข้อเสนอแนะ ควรศึกษากลวิธีอื่นๆ ในการโฆษณาสินค้า ศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำ วลี หรือศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ หรืออรรถศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คำศัพท์ หรือกลุ่มคำศัพท์ในบทโฆษณาที่เกี่ยวกับสินค้า หรือบริการที่ปรากฎในสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการใช้ภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทำให้เห็นมุมมองที่แตกต่างออกไป ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศศิณี ตระกูลทิวากร. (2543). อาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารอาหาร. 30 (2), 126-129.

โชษิตา มณีใส. (2553). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐ นาคะสุวรรณ. (2547). การวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์และนิตยสารไทยเกี่ยวกับความรู้ด้านอาหาร เพื่อสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์.

เดชพันธ์ ประวิชัย. (2558). การโฆษณากับสังคม Advertising in Contemporary Society. (พิมพ์ครั้งที่ 7) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทักษิณา ชัยอิทธิพรวงศ์. (2560). การออกแบบและผลิตนิตยสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ สู่สี่อดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญลักษณ์ ธรรมจักษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเจ ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

นพวัฒน์ สุวรรณช่าง. (2553). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในบทโฆษณาในนิตยสารสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษราคัม นรบัติ. (2562). พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพควบคู่กับการออกกำลังกายของชมรมคนรักสุขภาพ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.