อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

Main Article Content

ชาญยุทธ หาญชนะ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย  2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 243 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ รองลงมา คือ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์          2) ประสิทธิภาพขององค์กรส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา ด้านธรรมาภิบาล ด้านการบริการสาธารณะ และด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง 3) ตัวแปรการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์ ด้านการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลทางบวกต่อตัวแปรประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้ร้อยละ 58.70


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ออนไลน์. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2023/5/2365_6294.pdf.

ขวัญใจ อับมา, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และ ละมัย ร่มเย็น. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3 (3), 61-82.

จารุกัญญา อุดานนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 20 (2), 79-95.

ฐิตาทกานติ์ อังศุชวาลกิจ, ภูมิมินทร์ นามวงค์, และ สาโรจน์ บุญเสริมวรรณ. (2564). กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (43), 339-351.

ณฐนน ทวีสิน, ธีรพล กาญจนากาศ, สุนิตดา เทศนิยม, และ ชญานนท์ คีรีมาศทอง. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย. Procedia of Multidisciplinary Research. 1 (10), 1-11.

ณัฐพล อินธิแสง, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง, และ ละมัย ร่มเย็น. (2564). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1 (1), 41-55.

เสวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2566) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 9 (2), 1-11.

สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2566). ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570. ออนไลน์. สืบค้น 24 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา http://www.local.moi.go.th/newweb2019/web/book/detail/171.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลย. (2566). จำนวนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. ออนไลน์. สืบค้น 1 เมษายน 2566. แหล่งที่มา https://loeilocal. go.th/public/person/data/chart/structure_id/32/menu/1649.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Defrank, R.S. & lvancevic, J.M. (1998). Stress on the job: An executive update. Academy of Management Executive. 12 (3), 55-66.

Mattalatta, M. & Andriani, Y. (2023). Influence of Human Resource Management on Organizational Performance with Talent Management Mediation. Innovation Business Management and Accounting Journal. 2 (3), 147-156.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. New York:McGraw-Hill Book.