การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ กลุ่มเป้าหมายได้จากการเข้าร่วมโครงการแบบอาสาสมัคร ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำชุมชน ชาวชุมชนท่าแครวมจำนวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการศึกษาจากข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์ไม่เป็นทางการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการอุปนัย และ 3)เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักท่องเที่ยวจำนวน 30 ได้มาโดยวิธีการอาสาสมัคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุมชนท่าแคมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ได้จากในชุมชน โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวนี้สามารถทำได้จริงและไม่ขัดต่อความเชื่อกับวัฒนธรรมมมโนราห์โรงครู กิจกรรมที่มีศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มี 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมชมแหล่งเรียนรู้มโนราห์ท่าแค กิจกรรมหัดรำมโนราห์ และกิจกรรมร้อยลูกปัดมโนราห์ สถานที่ที่ใช้สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวมักมีการจัดกิจกรรมวัดท่าแคเป็นหลัก ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์มี 3 ประเด็นคือ การมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทางการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลท่าแคและหน่วยงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุง
2. แนวทางการส่งเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ คือ ร่วมผลักดันยกระดับงานวัฒนธรรมมโนราห์โรงครูท่าแคให้มีความยิ่งใหญ่ระดับประเทศเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างภูมิภาคเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ควรมีกิจกรรมการท่องเที่ยวรองในพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ควรส่งเสริมการปลูกจิตสํานึกในเรื่องเอกลักษณ์และคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น ควรมีการใช้สื่อกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์รวมทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในรูปแบบที่หลากหลายและช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ
ผลการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ พบว่านักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.53)
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.dot.go.th/storage/3_01_2562/ JiIBmnsOzmzCAgf0M9h83hZ1RoJkUmlP FJA8 lTMG.pdf
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ และ คุณอานันท์ นิรมล. (2562). การพัฒนาสื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อนอัตลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำ คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. วารสารครุพิบูล. 6 (2), 231-246.
เทศบาลตำบลท่าแค. (2554). ความเป็นมาของเทศบาลตำบลท่าแค. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.thakaecity.go.th/index.php
นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร และคณะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://tnrr.nriis.go.th/pdf_file/5d9c96080.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สหภัส อินทรีย์, วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2566). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1. Journal of Roi Kaensarn Academ. 8 (10). 649-662.
อธิป จันทร์สุริย์ และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ความเป็นไทย ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. ทีทัศน์วัฒนธรรม. 19 (2), 141-162.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education
Dale , E. (1969). Audiovisual Method in Teaching. New York: The Dryden Press.