การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านเคมี เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ภัทรนันท์ ชื่นเรือง
ธิติยา บงกชเพชร

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี         เพื่อการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านเคมี เรื่อง สารละลาย และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านเคมีที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี เรื่อง สารละลาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน             กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านเคมี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย         ร้อยละ และตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้า
           ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านเคมี มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การใช้บริบทนำและบริบทใหม่ควรมีความสอดคล้องกันโดยบริบทที่เลือกใช้ควรเป็นสิ่งเกิดขึ้นจริงในสังคม เช่น ข่าวที่เป็นประเด็นในสังคมหรืออาจเป็นสถานการณ์ที่ครูจำลองขึ้นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา การใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการวิเคราะห์ อธิบาย ระบุประเด็นปัญหาเกี่ยวกับบริบทและสรุปแนวคิดสำคัญจากบริบทนั้น การใช้เทคโนโลยีควรมีความจำเพาะเจาะจงกับเนื้อหาและกิจกรรมที่ออกแบบไว้เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ เช่น แอปพลิเคชันการทดลองเสมือน และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี มีคะแนนความฉลาดรู้ด้านเคมีสูงกว่าร้อยละ 80 ในทั้ง 4 องค์ประกอบ แปลผลได้ว่ามีระดับความฉลาดรู้ด้านเคมีอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดา พราหมณ์ชู. (2553). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา

เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) (2), 32-41.

พัชรี ร่มพยอม วิชัยดิษฐ. (2558). ธรรมชาติของวิชาเคมี และการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของ

วิชา. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว ปีที่ 31(2), 187-199.

พิมพลอย ตามตระกูล. (2564). การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด-เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ

บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภูริต สงวนศักดิ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน

ปลาย. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58, (หน้า 34-41). กรุงเทพฯ.

ศุภกร สุขยิ่ง และคณะ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการ ใช้ข่าวเป็นสื่อ เรื่อง สภาพสมดุล

เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(2), 31-44.

ศุภณัฐ ชูศรียิ่ง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บเพื่อส่งเสริม

ความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัย

ราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 244-255.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2562). การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อิชยา กองไชย (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น,

(6), 443-450.

Cigdemoglu, C. (2015). Improving Students’ Chemical Literacy Level on Thermochemical and

Thermodynamics Concepts through Context-Based Approach. Chemistry Education Research

and Practice, 16. doi: https://doi.org/10.1039/C5RP00007F

Darkwah, V. A. (2006). Undergraduate nursing students’ level of thinking and self-efficacy in patient

education in a context-based learning program. Edmonton. University of Alberta.

Eny, H. A., & Wiyarsi, A. (2019). Students’ Chemical Literacy on Context-Based Learning: A Case of

Equilibrium Topic. Journal of Physics: Conference Series, 1397, 012035.

doi: https://doi.org/10.1088/1742-6596/1397/1/012035

Gilbert, J. K. (2006). On the Nature of “Context” in Chemical Education. International Journal of

Science Education, 28(9), 957-976. doi: https://doi.org/10.1080/09500690600702470

Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (1988). The Action Research Planner (1 ed.). Springer Singapore.

doi: https://doi.org/10.1007/978-981-4560-67-2

Rodniyom, A. (2023). EDUCATIONAL TECHNOLOGY AND ONLINE TEACHING AND LEARNING

MANAGEMENT IN THE NEW ERA. Journal of Buddhist Anthropology, 6(9), 123-133. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/251294

Shwartz, Y., Ben-Zvi, R., & Hofstein, A. (2005). The importance of involving high-school chemistry

teachers in the process of defining the operational meaning of 'chemical literacy'.

International Journal of Science Education - INT J SCI EDUC, 27, 323-344.

doi: https://doi.org/10.1080/0950069042000266191

Sriphrom, P., & Onthanee, A. (2020). DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING CONTEXT-

BASED LEARNING WITH INFOGRAPHICS TO ENHANCE SCIENTIFIC LITERACY AND ATTITUDE TOWARD SCIENCE ON THE TOPIC OF CHEMICAL BONDS FOR GRADE 10 STUDENTS. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 23(3). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/231230

Thummathong, R., Khotbuntao, T., Thaweerungsrisap, O., & Thathong, K. (2016). Chemical Literacy

Level of Engineering Students, Faculty Engineering, North Eastern University. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(4), 439-457. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/228792