ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในเขตเทศบาล นครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วิรัตน์ ใจสา

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น   2) เพื่อหาแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานให้กับพนักงานเอกชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจ  สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 394  ตัวอย่าง ทำการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากสถานประกอบการในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 6,577 แห่ง  การวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบสมมติฐานเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัย ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
        ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันลำดับที่สอง ในส่วนของความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า  ค่า Chi-square (c2 ) มีค่าเท่ากับ 86.751 , องศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 60 , p-value = 0.015 (ตามมาตรฐานควรมากกว่า 0.05), c2 /df เท่ากับ 1.446 , GFI มีค่า เท่ากับ 0.974 , CFI มีค่าเท่ากับ 0.983 ,  RMR มีค่าเท่ากับ 0.017  และ RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.034  ดังนั้นค่าดัชนีดังกล่าวบ่งชี้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับโมเดลตามทฤษฏี  จึงสรุปได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  เมื่อแยกพิจารณาเป็นอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมพบว่า  ลักษณะของงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงาน  ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสุขในการทำงานผ่านความพึงพอใจในการทำงาน  ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในการทำงาน   และความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงาน ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านลักษณะของงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงาน  ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในการทำงาน   ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในการทำงาน   และปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงานส่งผลเชิงบวกต่อความสุขในการทำงาน  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ แนวบรรทัด และทิฆัมพร พันลึกเดช. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษย์ศาสตร์และสังคมสาสตร์, 7(2), 1-12.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2561). โครงการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น ระยะที่ 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดาวเดือน โลหิตปุระ และชัยวัฒน์ สมศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง. PAYAP UNIVERSITY JOURNAL, 28(1), 167-178.

เทศบาลนครขอนแก่น. (2563). จำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม.2565. แหล่งที่มา: https://www.kkmuni.go.th/basic-data/population-data/pop-003.pdf

ธัญพร สินพัฒนพงศ์.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทางานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์ของปริญญาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปาริชาติ โชคเกิด. (2565). เทรนด์ใหม่หลังโควิด: คนรุ่นใหม่เลิกสนใจทํางานตามฝัน หันมาหาอาชีพที่มั่นคงดีกว่า. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม.2565. แหล่งที่มา: https://brandinside.asia/gen-z-need-stability-career/

พรพนา พัวรักษา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณทิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภทร พิทักษ์สัจจวงศ์ ณัฐดนัย ตั้งกิจโสภณ และศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานบริษัท ABC จำกัด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม, 16(1), 114-126.

รจนา เตชะศรี. (2550). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย หนองหว้า สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์บริหารข้อมูลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2565). สถานการณ์ตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www.doe.go.th/prd/assets/upload

/files/lmine_th/29e3899cbd1f8f269e0dde1ec2a99ede.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2565). สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ข้อมูลพื้นฐาน: จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุนทร เพ็ชร์พราว. (2551). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาจันทร์ เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวภัทร ศรีสว่าง และณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2562). สวัสดิการและค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงาน อุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 294-303.

Diener, E. (2000). Subjective Well-Being: The Science of Happiness and a Proposal for a National Index. American Psychologist.55(1): 34-43.

Gilmer, B. von haller, (1971). Industrial and Organization psychology, Japan: mc graw –Hill Company.

Hair, Jr.J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. 7 th ed. New York: Pearson Prentice Hall, Harper Collins College.

Hackman, J. R., Oldham, G. R. (1980). Work redesisn. Masachuserrs :Addison – Wesley Publishing Company.

Herzbreg, F., Mausner,B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. New York:

McGraw-Hill Book

Jaitha, A. (2016). Joy in the performance of the personnel Department of the Ministry of Justice, protection of the rights and freedoms. Pathum Thani.

Meijer, A., & Bolivar, M. P. R. (2016). Governing the Smart City: A Review of the Literature on Smart Urban Governance. International Review of Administrative Sciences, 82(2), 392-408.

Manion, J. (2003). Joy at work, creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.

Moos, R.H.,& Moos, R.S (1986). Family Environment scale manual (2nd ed.). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, 49-60.

Schumacher, R. E., and Lomax, R. G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modelling. 3 rd ed. New York, NY: Taylor & Francis.

Taro Yamane. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.

Walton, Richard E. (1973). Quality of Working Life: What is it?.Sloan Management Review, 4 (7), 20-23.

Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness. Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Zikmund, W.G., Babin, B.J., Carr, J.C., and Griffin, M. (2010). Business Research Methods. Moson, Ohio: South Western Cengage Learning.