การศึกษาการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหนึ่งที่พบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี 2565 มีอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ศึกษาปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) พัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 504 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ กลุ่มที่ 2 คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขระดับจังหวัดและอำเภอ รวม 10 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 69.25 (= 40.42, SD=6.81) 2) ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และปัจจัยด้านทรัพยากร สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ร้อยละ 38.90 และ 3) พัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การวางแผนกิจกรรม การดำเนินกิจกรรม “ชุมชนปลอดภัยจากไข้เลือดออก” การติดตามผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.45, SD=0.14)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุขควรนำรูปแบบการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไปปรับประยุกต์ใช้ และขยายผลในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกต่อไป
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). รายงานระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก ปี 2564. สมุทรปราการ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ.
งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). รายงานระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก ปี 2566. สมุทรปราการ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ.
จันทิมา เหล็กไหล, และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2560). ปัจจัยการณ์การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จันทร์จุรี ถือทอง และ ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิต. (2562). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกรณี 5 โรงเรียนนำร่อง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 26 (2), 48-59.
จิระวัตร วิเศษสังข์. (2565). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเมืองจันทร์ ปี 2563. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 7 (1), 88-98.
บุญส่ง มั่นสัตย์รักสกุล และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัย มข. 18 (1), 81-91.
ประเสริฐ ไหลหาโคตร. (2559). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบลบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 13 (3), 43-50.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, & ปัทมา รักเกื้อ. (2561). ที่ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 21 (1), 31-39.
วินัย พันอ้วน, จิติมา กตัญญู, และวันทนีย์ ชวพงค์. (2562). ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพิฆเนศวร์สาร. 15 (2), 149-159.
วิภาวดี วุฒิเดช, พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมชาติ โตรักษา. (2560). การประยุกต์หลักการบริหารเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
สฤษดิ์เดช เจริญไชย, วิชัย สุขภาคกิจ และมาสริน ศุกลปักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29 (3), 517-527.
สิวลี รัตนปัญญา. (2561). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมและรูปแบบกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 27 (1), 135-148.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). รายงานประจำปี 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2562). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี และโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
อมรา เมฆนันทไพศิฐ, รังสรรค์ สิงหเลิศ และแดนวิชัย สายรักษา. (2565). การจัดการภาวะโภชนาการเกินของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านจังหวัดชัยภูมิ. Interdisciplinary Academic and Research Journal. 3 (6), 413–434.
Green LW, Kreuter MW. (2005). Health program planning: an educational and ecological approach. New York: Mc-Graw-Hill.
Rogers, R. W. (1983). Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. T. Cacioppo & R. E. Petty (Eds.), Social psychophysiology: A sourcebook (pp. 153-176). New York: Guilford.