กระบวนการและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจหาดใหญ่ที่สะท้อนผ่านเรื่องเล่าด้วยเครื่องมือทางภาษาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจหาดใหญ่โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ผู้ประกอบการเล่าเรื่องอย่างอิสระ โดยมีบริบทโควิด-19 เข้ามาเกี่ยวข้อง จากจำนวนธุรกิจทั้งหมด 14 ร้านที่เป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์และธุรกิจบริการ ด้วยเครื่องมือวิจัยทางภาษาศาสตร์มาใช้ในการตีความและอธิบายความตามวัตถุประสงค์
ผลการวิจัยพบกระบวนการประกอบธุรกิจ 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก พื้นเพหรือจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ มีข้อย่อย คือ การมีพื้นฐานจากครอบครัว ประสบการณ์ในการทำงาน ความชอบส่วนตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อการทำงาน ความชอบด้านพื้นที่ สำรวจตลาดหรือเหมือนการทำวิจัย ประการที่สอง แรงบันดาลใจหรือจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจ มีข้อย่อย คือ การเปลี่ยนแปลงที่ทำมาหากิน ปัญหาหรืออุปสรรคที่ได้พบเจอ และมุมมองหรือช่องทางที่ผู้ประกอบการค้นพบ ประการที่สาม วิธีดำเนินการทำธุรกิจ มีข้อย่อย คือ หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้า การต่อรองกับลูกค้า และการดำเนินกิจการ ประการที่สี่ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำธุรกิจ และกลยุทธ์การแก้ปัญหาและแผนการดำเนินงานในการทำธุรกิจ มี 4 ประการ ได้แก่ การแก้ปัญหาในการใช้ชีวิต การแก้ปัญหาในการทำธุรกิจ มุมมองที่มีต่อปัญหาและการหาทางออก และการวางแผนการทำธุรกิจต่อไป แนวทางจากประสบการณ์ตรงของผู้ประกอบการที่ผ่านเครื่องมือการวิเคราะห์ทางภาษาจะส่งผลต่อการเรียนรู้การทำธุรกิจท้องถิ่น มุมมองที่มีต่อปัญหาการแก้ปัญหาในการทำธุรกิจ และการวางแผนการทำธุรกิจได้ต่อไป
Article Details
References
ทิบดี ทัฬหกรณ์และประสพชัย พสุนนท์. (2562). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในธุรกิจร้านค้า บริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน). วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 9 (1), 106-117.
ธนะภนท์ แจ่มเพลง. (2567). หน่วยที่ 4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/view/ tanapont/elearning
ผู้จัดการออนไลน์ (MGR ONLINE). (2566). สภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ขอรัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการเขตธุรกิจใหม่ 4 หัวเมืองตามนโยบายที่หาเสียง. ข่าวธุรกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2566 แหล่งที่มา: https://mgronline.com/south/detail/9660000096740
พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์, อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และสุภาพ วงศ์ศรีสุนทร. (2023). กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนไทยไปประเทศจีนเพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากโควิด. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 7 (1), 323-342.
พัทธมน ธุระธรรมานนท์ และกังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์. (2565). ปัจจัยธุรกิจ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจเบเกอรี่บนออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 13 (1), 16-31.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ มหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, วิษณุ เพ็ชรไทย และใกล้รุ่ง กระแสสินธุ์. (2023). การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 7 (1), 260-274.
เว็บไซต์ THECITIZENPLUS Thai PBS. (2022). ก้าวต่อไปของเมืองหาดใหญ่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://thecitizen.plus/node/62792
ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. (2565). เกียรติและศักดิ์ศรีที่เหนือระดับ : ความสัมพันธ์ระห่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมธุรกิจรถยนต์ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารอักษรศาสตร์. 51 (2), 115-138.
ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์และวุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2563). บ้านกับความสมบูรณ์พร้อมของการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 27 (2), 387-415.