ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารราชการ เขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

ศิริศักดิ์ เพ็ชรผึ้ง
สถิรพร เชาวน์ชัย
จิติมา วรรณศรี
วิทยา จันทร์ศิลา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้กฎหมายในการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษาแนวทางตลอดจนสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษาผู้วิจัยดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้กฎหมายในการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสร้างแบบสอบถามที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาแนวทางการสร้างข้อเสนอเชิงนโยบาย แล้วนำแบบสอบถามไปดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน หลังจากได้ทำการตรวจสอบความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินแล้ว แล้วนำแบบสอบถามดังกล่าวไปดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน                        ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นิติกรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและหาแนวทางในการสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา 2) การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา  โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1  มายกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและตรวจสอบความเหมาะสมโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คนแล้วนำมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการเฉพาะด้านการบริหารจัดการศึกษา ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารรวมทั้งหมด โดยการเลือกแบบสุ่ม ซึ่งมีผู้ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ จำนวน 420 คน  และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา ในภาพรวม มีผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.50)  ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ดังนี้      ประเด็นที่ 1 รูปแบบการบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา พบว่ามีผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.88) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ประเด็นที่ 2 ทรัพยากรการบริหาร พบว่า มีผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.58) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ประเด็นที่ 3 การบูรณาการการจัดการศึกษา มีผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̅=4.43) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริช ภูญียามา. (2550). การมอบอำนาจทางปกครองในระบบราชการ. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปรัศนีย์ อุ้มเครือ. (2554). ประสบการณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ไม่มั่นใจในการตัดสินใจเลือกแผนการเรียน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาคณะจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรมการปกครอง. (2558). การยุบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นทางออกของสังคมไทยหรือไม่. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (ม.ป.ป.). สถาบันพระปกเกล้า. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การกระจายอำนาจ

กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (ม.ป.ป.). สถาบันพระปกเกล้า สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การแบ่งอำนาจ

อภิชัย พันธเสนและคณะ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย:ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา (2535-2558). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

สำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2554). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาเรื่อง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.krupai.net/sbm_somsak.htm