การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐ ความเข้าใจจริยธรรม ผู้ทำบัญชีภาครัฐ การประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐในประเทศไทย

Main Article Content

อทิรา โสตโยม
กัลยาภรณ์ ปานมะเริง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐ ความเข้าใจจริยธรรมผู้ทำบัญชีภาครัฐ การประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ด้วยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม และวัตถุประสงค์ของแบบสอบถาม (IOC: Index of item Objective Congruence) ถ้าค่า IOC มากกว่า 0.50 ทุกข้อแล้วจะนำไปหาค่าความเชื่อมั่นต่อไป รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขภาษาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ประชากร คือผู้ทำบัญชีในหน่วยงานของรัฐ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 431 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติที่สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระจากกัน (t-test independent) กลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม (F-test) และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance: ANOVA) และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐ ความเข้าใจจริยธรรมผู้ทำบัญชีภาครัฐ การประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งงาน และประเภทหน่วยงานที่แตกต่างกันมีความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐ ความเข้าใจจริยธรรมผู้ทำบัญชีภาครัฐ การประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์ และประวิทย์ เขมะสุนันท์. (2559). ความท้าทายของคุณภาพการควบคุมภายในและรายงานทางการเงิน. วารสารพัฒนาสังคม. 18 (1), 143-159.

ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีปฏิบัติงานบัญชีสมัยใหม่ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ความเชี่ยวชาญทางการบัญชีอย่างมือาชีพ ที่มีต่อประสิทธิภาพรายงานการเงินของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 11 (1), 17-34.

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561

(2561). ราชกิจจานุเบกษา, 135 (231ง), 9-10

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 (2564). ราชกิจจานุเบกษา, 138 (84ง), 17-18

ศาสตรา สุดสวาสดิ์ และ ฐิติมา ชูเชิด. (2559). ความโปร่งใสทางการคลังและความโปร่งใสในงบประมาณของไทยตามหลักสากล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org.

Agwor, T. C., & Okafor, R. (2018) Accounting ethics and financial reporting quality of tourism and hospitality firms in Rivers state. Journal of Accounting and Financial Management ISSN. 4 (3),

Aifuwa, H. O., Embele, K., & Saidu, M. (2018). Ethical accounting practices and financial reporting quality. EPRA Journal of Multidisciplinary Research. 4 (12), 31-44.

Beest, F. V., Braam, G. J. M., & Boelens, S. (2009). Quality of Financial Reporting: measuring qualitative characteristics. http://www.ru.nl/nice/workingpapers, NICE Working Paper 09-108, 1-41.

International Federation of Accountants. (2012). IFAC Policy Position 4, March 2012.

Iskandar, Diah. and Setiyawati, Hari. (2015). The Effect of Internal Accountants’ Competence on the Quality of Financial Reporting and the Impact on the Financial. International Journal of Managerial Studies and Research. 3 (5), 55-64.

Musa, B. K. Professionalism and Ethics of Accounting in Financial Reporting: An Overview of Nigerian Scenerio.

Nuryanto, Muhamad and Afiah, Nunuy Nur. (2013). The Impact of Apparatus Competence, Information Technology Utilization and Internal Control on Financial Statement Quality (Study on Local Government of Jakarta Province - Indonesia). World Review of Business Research. 3 (4), 157-171.

Setiyawatia, Hari. and Doktoralina, Caturida Meiwanto. (2019). The importance of quality accounting information management in regional governments in Indonesia. Management Science Letters. 9, 2083–2092.