การพัฒนาโมเดลแก้จนระดับพื้นที่เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม ในโซนพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตั้งแต่ตันน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำในการยกระดับศักยภาพการผลิตทางการเกษตร 2. พัฒนาโมเดลแก้จนระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ระบบ PPAOS และ แบบสอบถามระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 1 กลุ่ม คือ ครัวเรือนเป้าหมายตามฐานข้อมูล TP MAP ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 752 ครัวเรือน ในพื้นที่เป้าหมายหลักคือ อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอสุวรรณภูมิ และ อำเภอโพนทราย
ผลการศึกษาประเด็นการส่งเสริม สนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตั้งแต่ตันน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในการยกระดับศักยภาพการผลิตทางการเกษตร พบว่า การยกระดับการผลิตทางการเกษตร ผ่านการบูรณาการความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตทั้ง 24 รายการ มีความสามารถในการผลิต เพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติทางการเกษตร จัดการกับความท้าทายที่สำคัญในการจัดการน้ำและการควบคุมศัตรูพืชซึ่งนำไปสู่ผลผลิตและคุณภาพที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้ของครัวเรือนและปรับปรุงความมั่นคง ด้านอาหาร และ ประเด็นพัฒนาโมเดลแก้จนระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ พบว่า ห่วงโซ่การผลิตผักเศรษฐกิจและการเลี้ยงจิ้งหรีดมีความสอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นเอกลักษณ์และบริบทท้องถิ่นของครัวเรือนยากจน โมเดลดังกล่าวช่วยให้ครัวเรือนที่ยากจนสามารถเอาชนะอุปสรรคในการเข้าถึงทรัพยากร ความรู้ และการตลาด
Article Details
References
จันทีมา ล่ามแขก และ อจิรภาส์ เพียรขุนทด (2564). การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ กรณีศึกษา
โครงการคู่เสี่ยว เกี่ยวก้อย แก้จน คนขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 21 (2), 109-122.
สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2566 - 2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.roiet.go.th/ckfinder9/userfiles/files/plan/2567 /plan5_66-70_2567.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. สืบค้น 28 มกราคม2567. จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_ 0001.PDF
Kaewtrakulpong, K. (2023). Prospects of Smart Agricultural Mechanization in Thailand in Post COVID -19Pandemic. Online. March, 102567. from https://ap.fftc.org.tw/article /341