อิทธิพลคั่นกลางของความสามารถทางการแข่งขันเป็นตัวแปรถ่ายทอดแนวปฏิบัติการจัดการคุณภาพเชิงเทคนิคสู่ผลการดำเนินงานโดยมีกลยุทธ์ทางการแข่งขันเป็นตัวแปรกำกับของโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความสามารถทางการแข่งขันในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงแนวปฏิบัติการจัดการเชิงเทคนิคสู่ผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA 2. เพื่อหาอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการแข่งขันในฐานะตัวแปรกำกับที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารโรงแรมหรือหัวหน้าฝ่ายของโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA ในเขตภาคเหนือจำนวน 628 ราย เครื่องมือคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาณด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง โดยโปรแกรม PLS และ PROCESS
ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม ของบทบาทคั่นกลางของความสามารถทางการแข่งขันที่เชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติการจัดการคุณภาพเชิงเทคนิคสู่ผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA พบว่า อิทธิพลที่ส่งผลทางตรงเชิงบวกตอผลการดำเนินงานมากที่สุด คือ ความสามารถทางการแข่งขัน (Direct Effect = 0.588) รองลงมา คือ แนวปฏิบัติการจัดการคุณภาพเชิงเทคนิค (Direct Effect = 0.249) และอิทธิพลโดยรวมของบทบาทคั่นกลางของความสามารถทางการแข่งขัน ที่เชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติการเชิงเทคนิคสู่ผลการดำเนินงานของโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA พบว่าอิทธิพลโดยรวมของการทดสอบส่งผลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานมากที่สุด คือ แนวปฏิบัติการจัดการคุณภาพเชิงเทคนิค (Total effect = 0.604) และปัจจัยตัวแปรด้านความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงาน สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดความความสามารถทางการแข่งขันได้ร้อยละ 64.30 (R2=0.643) และผลการดำเนินงานร้อยละ 64.20 (R2=0.642)และอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการแข่งขันในฐานะตัวแปรกำกับที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน อิทธิพลการกำกับ (ใช้เป็น Int_1) คือ ค่า β = -0.011 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
พุทธชาด ลุนคำ และรชฏ เลียงจันทร์. (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/getmedia/ab21638a-4089-4bb4bb8a62ba89d2c7da/RI_Future_of_Tourism_210121_TH.pdf.aspx
ศฐิฒฎา ธารารัตนสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส Covid-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของประเทศไทย พบว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19. โรงพิมพ์ลาดพร้าว: มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.
สวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2561). อิทธิพลการส่งผ่านของความพึงพอใจและความผาสุกในชีวิตที่มีต่อพฤติกรรม การสร้างคุณค่าร่วมกันและความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าในธุรกิจโรงแรม. วารสารการจัดการธุรกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา. 9 (2), 86-104
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา
Alieva, Jamila & Powell, Daryl. (2022). The significance of employee behaviors and soft management practices to avoid digital waste during a digital transformation. International Journal of Lean Six Sigma. ahead-of-print.10.1108/IJLSS-07-2021-0127.
Caputo, F., Garcia-Perez, A., Cillo, V., & Giacosa, E. (2019). A knowledge-based view of people and technology: directions for a value co-creation-based learning organization. Journal of Knowledge Management. 23 (7), 1314-1334
Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological bulletin. 112 (1), 155.
Hair, J., et al. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Upper Saddle River, Prentice Hall.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. New York: Wiley & Son.
Otieno, D. B., & Maina, J. (2019). Learning Organization Attributes and Performance of G4s Kenya Limited Mombasa County, Kenya. International Journal of Current Aspects. 3 (3), 212- 226.
U-senyang, S., Akpan, J., Ongklang, A., & Visutranukool, M. (2022). Success Factors of Community Business Management in Thailand. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews. 2 (3), 77–88. https://doi.org/10.14456/jsasr.2022 .21
Wisenthige, K., Guoping, C. (2016). Firm Level Competitiveness of Small and Medium Enterprises (SMEs): Analytical Framework Based on Pillars of Competitiveness Model. International Research Journal of Management, IT and Social Sciences. 2 (9), 51-56.