แนวทางการสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในยุคโควิด-19 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการสาธารณสงเคราะห์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในยุคโควิด-19 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในยุคโควิด-19 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล คือ 1) กลุ่มพระสงฆ์ที่ปฏิบัติสาธารณสงเคราะห์ 7 รูป 2) กลุ่มนักวิชาการศาสนา 5 รูป/คน และ 3) กลุ่มผู้ได้รับการสาธารณสงเคราะห์ 14 คน ผลการวิจัยพบว่า
การสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา: หลักการและวิธีการของคำสอนทางพระพุทธศาสนาคือการสงเคราะห์ทั้งกายและใจ นำคำสอนออกเผยแผ่เพื่อแก้ปัญหาสังคม ในสังคมสมัยใหม่การให้ไม่เพียงใช้ปัจจัยสิ่งของเท่านั้น เนื่องจากสังคมสมัยใหม่มีความสลับซับซ้อน ปัญหาสังคมก็มีความสลับซับซ้อนตาม
การสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในยุคโควิด-19 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม: กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในอำเภอธาตุพนมได้ปฏิบัติทั้งหมด 6 ด้าน พระสงฆ์ที่ทำการสาธารณสงเคราะห์มีจุดเน้นวิธีการสงเคราะห์ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน สิ่งที่เหมือนกันคือทุกรูปมีหน้าที่ในการสงเคราะห์ด้านจิตใจ การให้คำแนะนำและคำปรึกษาผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจซึ่งเป็นผลกระทบจากโควิด
แนวทางการสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในยุคโควิด-19 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม: ได้แก่ 1) หลักการช่วยเหลือคือปฏิบัติตามพระธรรมวินัยด้วยการสวดมนต์ภาวนา เจริญสมาธิปัญญาและสร้างสติเพื่อรับมือกับปัญหาเบื้องต้น 2) สังเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่แก่กลุ่มเสี่ยงและบุคลากรทางการแพทย์ สร้างขวัญและกำลังใจ ให้สถานที่วัดเป็นที่กักกันกลุ่มเสี่ยง การฌาปนกิจศพและให้คำแนะนำ และ 3) มีกระบวนในการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น การประชุมปรึกษาหารือกันของกลุ่มผู้ทำงานและประเมินความเสี่ยงของการทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. (2565). รายงานผลทบทวนเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในระดับโลกและในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค.
พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ และ ปุระวิชญ์ วันตา. (2561). การเสริมสร้างแนวปฏิบัติในการสังคมสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา). (2537). อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: นีลนาราการพิมพ์.
พระมหากฤษฎา นันทเพชร. (2550). ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาสุภวัฒน์ หนูพริก. (2538). ทัศนะและความคาดหวังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : ศึกษากรณีผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสังเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
“พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535”. มาตรา 15 ตรี. ราชกิจจานุเบกษา 109 ตอนที่ 16 (8 มีนาคม 2535): 7.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มาวิน โทแก้ว, ศศิธร ล่องเลิศ และ ปรางทิพย์ มั่นธร. (2563). วิถีชีวิตใหม่: ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจร้านอาหาร ในจังหวัดนครพนม (รายงานวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม. (2563). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ 2563. นครพนม: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม. (2563). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนครพนม ประจำปี 2563. นครพนม: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม.
สุเทพ เชาวลิต. (2527). สวัสดิการสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.