ผลกระทบต่อสมาชิกชุมชนเมืองในมิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้สภาวการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา – 19 (Covid-19) หรือสภาวการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่

Main Article Content

แสน กีรตินวนันท์
สิริยา รัตนช่วย
เบญจรัตน์ สัจกุล
โกสิน เทศวงษ์

บทคัดย่อ

           การเกิดขึ้นของสภาวการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่หรือสภาวการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา – 19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนำมาสู่ผลกระทบต่อทุกประเทศในโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และเชื้อไวรัสโคโรนา - 19 (Covid-19) ของสมาชิกชุมชนเมืองวัยเด็ก วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุภาย ในแฟลตสิริสาสน์ เขตดุสิต ชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ และชุมชนเกาะกลาง เขตคลองเตย 2) เพื่อศึกษาแนวทางปรับตัวหรือแนวทางแก้ไขปัญหาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า - 19 ของชุมชนกรณีศึกษาทั้งสามชุมชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 4 กลุ่มหลักคือ 1) กลุ่มผู้นำของทั้งสามชุมชน จำนวน 21 คน 2) กลุ่มวัยเด็กทั้งสามชุมชน จำนวน 21 คน 3) กลุ่มวัยแรงงานทั้งสามชุมชน จำนวน 21 คน 4) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้น 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 4) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม
            ผลการศึกษา พบว่า ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของกลุ่มวัยเด็กทั้งสามชุมชนที่ได้รับร่วมกันคือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากการเรียนออนไลน์และอุปกรณ์ป้องกันไวรัสโคโรนา – 19 สำหรับกลุ่มวัยแรงงานทั้งสามชุมชนที่ได้รับร่วมกันคือ รายได้ที่ลดลง รายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น หนี้นอกระบบ ส่วนกลุ่มวัยผู้สูงอายุทั้งสามชุมชนที่ได้รับร่วมกันคือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากอุปกรณ์ป้องกันไวรัสโคโรนา – 19 ยาของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ผลกระทบทางด้านสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่โคโรนา - 19 (Covid-19) ของกลุ่มวัยเด็กทั้งสามชุมชนที่ได้รับร่วมกันคือ การปรับตัวจากการเรียนออนไลน์ การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนน้อยลง สำหรับกลุ่มวัยแรงงานทั้งสามชุมชนที่ได้รับร่วมกันคือ การปรับตัวจากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป การปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวมากขึ้น การปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนลดลง ภาวะเครียด ส่วนกลุ่มวัยผู้สูงอายุทั้งสามชุมชนที่ได้รับร่วมกันคือ ขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุด้วยกัน ปัญหาสุขภาพจากการขาดการออกกำลังกายและพักผ่อนไม่มีคุณภาพ และภาวะเครียด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แจ่มจันทร์ เทศสิงห์ และ พัชรี แวงวรรณ. (2564). บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 7 (2), 19 – 36.

พิมสิริ ภู่ศิริ, นภัสวรรณ นามบุญศร และ เต็มฤทัย ภู่ประดิษฐ์. (2565). การติดเชื้อโควิด 19 ในเด็ก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 4 (1), 1 – 13.

วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด – 19. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (1), 267 – 282.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน, วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14 (34), 285 – 298.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร. (2563). อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับโควิด – 19 ของบุคลากรทีมสุขภาพ, วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย. 7 (1), 7 – 24.

ศรัญยุทธ เครื่องประดับ และ นิศาชล บุบผา. (2566). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลห้วยสามพาด อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธาน. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 6 (2), 1 – 14.

สุภาพ อารีเอื้อ และคณะ. (2565). การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 16 (4), 421 – 436.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล, ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ และ ศาสตรา สุดสวาสดิ์. (2566). ผลกระทบของโควิด - 19 ต่อการเรียนรู้ของเด็กระดับประถมศึกษา. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 10 (1), 51 – 69.