การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สุภัค ฟักเงิน
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์

บทคัดย่อ

          จากสภาพปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนและการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคดิจิทัล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ       1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ   3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 59 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2)แบบวัดสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test
          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาที่พบ คือ นักเรียนขาดทักษะการสืบค้นข้อมูลและการสังเคราะห์เพื่อสรุปองค์ความรู้ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.หลักการทฤษฎี 2.วัตถุประสงค์ 3.เนื้อหา               4.กระบวนการเรียนรู้ และ 5.การวัดและประเมินผล โดยสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนที่เรียกว่า CCRA Model ดังนี้ 1.การสื่อสารประเด็นทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 2.การเชื่อมโยงความเข้าใจด้วยการสื่อสารโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล 3.การสะท้อนการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและ 4.การประเมินการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.55, S.D.= 0.54) และ 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ. (2561). ไขข้อสงสัย โอเน็ตเด็กไทย ยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/education/news_897320

นำชัย ชีววิวรรธน์. (2557). SuperSci : สื่อวิทย์ สื่อยังไง ทำไมคนไม่สนใจ ?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564 แหล่งที่มา: https://mgronline.com/science/detail/9570000141928/.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร.

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์. (2497). มุมมองและความคิดไอน์สไตน์. [Ideas and Opinions] (Stanley Bennett,แปล). กรุงเทพมหานคร: แอร์โรว์ มัลติมีเดีย, บจก.

Farkas, M. (2012). Participatory technologies, pedagogy 2.0 and information literacy. Library Hi Tech. 30 (1), 82-94.

Hassan. (2016). Studying the effectiveness of application performance management (ATM) tools for detecting performance.13, 209-225.

Joyce and Weil. (2000). Models of teaching. ( 6th ed.). New Jersy: Prentice Hall.

Kulgemeyer, C., & Schecker, H. (2015). Students explaining science-assessment of science communication competence. Research in Science Education. 43 (6), 2235-2256.

Schwartzman, R., Kirchoff, B.K., Cuny, K.M. (2019). Roles of Communication Centers in Communicating Science: A Multi-Disciplinary Forum.Communication Center Journal. 5, 81-101.

Siemens,G. (2005). Connectivism: a learning theory for the digital age. Online. Retrieved September 12, 2022, from http://www.itdl.org/Journal/Jan_05/article01.htm.

Toffler, A. (1992). Powershift: Knowledge, Wealth, and Power at the Edge of the 21st Century. London Bridge Books.

Trna and Trnova. (2013). Implementation of connectivism in science teacher training. Journal of educational and instructional studies in the world. vol 3. 191-196.

Utecht & Keller. (2019). Becoming relevant again: applying connectivism learning theory to today’s classrooms. Critical Questions in Education.107-119.

Verhagen, P. (2006). Connectivism: A new learning theory. Surf e-learning themasite. 11.