การศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจ ใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม

Main Article Content

นวลรัตน์ วัฒนา
ชฎาวรรณ ศิริจารุกุล
ธนะวิทย์ เพียรดี
จริยา เกิดไกรแก้ว
ชารินี ใจเอื้อ
ยุวศรี อวะภาค
นิศานาถ มั่งศิริ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและทบทวนวรรณกรรม ฐานความรู้ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดการศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม ผลการศึกษา พบว่า กรอบแนวคิดการศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ องค์ประกอบคุณภาพการบริการ (Service Quality)  ตัวแปรกลาง (Mediator Variable) คือ ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวมุสลิม (Muslim’s tourist trust) และตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาล (Intention to use service)       โดยองค์ประกอบคุณภาพการบริการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการบริการด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (Tangibility) 2) คุณภาพการบริการด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ (Reliability) 3) คุณภาพการบริการด้านการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) 4) คุณภาพการบริการด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า (Assurance) และ 5) คุณภาพการบริการด้านการเอาใจใส่ของลูกค้า (Empathy) ซึ่งได้มาโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นำเสนอภายใต้กรอบแนวคิด 
          กรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ จะถูกนำไปใช้ในการดำเนินงานวิจัยต่อไป และผลการศึกษาจะนำมาสู่ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารฮาลาลเพื่อเตรียมการหรือปรับตัวให้สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวมุสลิมได้อย่างมั่นใจและสร้างความประทับใจและความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมสามารถใช้บริการร้านอาหารได้อย่างสนิทใจและเกิดความรู้สึกปลอดภัยในการบริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). เก้าก้าวสู่ความสำเร็จในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการ สังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษณา แสนเย็น, ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์, อาภาภรณ์ หาโส๊ะ และ สุชาติ ค้าทางชล. (2561). แนวโน้มตลาดอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตรด้วยวิถีมุสลิม. วารสารวิชาการสถาบัน วิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิกจังหวัดพะเยา. 4 (1), 286-297.

ธนินทร์ สังขดวง และ จิระนาถ รุ่งช่วง. (2560). การรับรู้ระดับการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการการท่องเที่ยวแบบฮาลาลในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 13 (1), 135-168.

ธันยมัย เจียรกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในประเทศไทยของชาวต่างชาติทั้งที่เป็นชาวมุสลิมและไม่ใช่ชาวมุสลิม. คณะบริหารธุรกิจ : สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ธวัชชัย นิมา, ภัทรพล ชุ่มมี และชาคริต ศรีทอง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีฮาลาลของมุสลิมในภาคใต้ฝั่งอันดามัน. Journal of Nakhonratchasima College. 14 (3), 136-150.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2541). การเขียนบทความวิจัย. เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการ เที่ยงวันวิชาการ" ณ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2542

วิไลรัตน์ เจ๊ะหมัด และ ธันยมัย เจียรกุล. (2560). แนวทางการขยายตลาดร้านอาหารมุสลิมสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม. การประชุมวิชาการระดับชาติ TNIAC ครั้งที่ 4 การจัดการวิจัยเชิงนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0. 19 พฤษภาคม 2560. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

วิไลรัตน์ เจ๊ะหมัด. (2559). แนวทางการขยายตลาดร้านอาหารมุสลิมสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจสำหรับผู้บริหาร: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ศิริวรรณ เชื้อผู้ดี. (2557). เจาะตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิม โอกาสของประเทศไทยภายใต้ AEC. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://www.publicpostonline.net/600

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). จำนวนศาสนิกชน จำแนกตามศาสนา พ.ศ.2551 2554 2557 และ 2561. ออนไลน์. สืบค้น เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา:https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=304

Hair, J., Black, W., Babin, B. & Anderson, R. (2019). Multivariate Data Analysis. (8th ed). Cengage Learning EMEA: London, United Kingdom.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (1985). "A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research," Journal of Marketing, 49 (Fall), 41-50.