ปัจจัยกำหนดสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน

Main Article Content

วิมล บ้านพวน
ปิยวดี พิศาลรัตนคุณ
จันจิรา ทรัพย์อาภรณ์

บทคัดย่อ

          “ครอบครัว” เป็นสถาบันหลักเป็นพื้นฐานแรกในการพัฒนาคุณภาพคน เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสังคม แต่มีความสำคัญที่สุดเนื่องจากครอบครัวเป็นเบ้าหลอมคุณค่าชีวิต บ่มเพาะคุณลักษณะที่ดีงามของความเป็นมนุษย์ให้กับสังคม การศึกษาปัจจัยกำหนดสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ของสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับปัจจัยกำหนดสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน  2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความสุขของครอบครัวภายใต้บริบทการอยู่ร่วมกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์   กึ่งโครงสร้างกับสมาชิกในครอบครัว จังหวัดนนทบุรี จำนวน 8 ครอบครัว เลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่าสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน มี 5 ประเด็นหลักดังนี้ 1) ปัจจัยด้านสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว 2) รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมส่วนบุคคล 3) เครือข่ายทางสังคม และชุมชน 4) เงื่อนไขในการดำเนินชีวิตและการทำงาน และ 5) สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน  ส่วนที่ 2 แนวทางการเสริมสร้างความสุขครอบครัวภายใต้บริบทการอยู่ร่วมกัน มี 3 ประเด็นหลักคือ 1) แนวทางการเสริมสร้างความสุขของครอบครัวภายในบริบทการอยู่ร่วมกันระดับบุคคล 2) แนวทางการเสริมสร้างความสุขของครอบครัวภายในบริบทการอยู่ร่วมกันระดับชุมชน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างความสุขของครอบครัวภายในบริบทการอยู่ร่วมกันระดับสังคม
          ข้อเสนอแนะจากการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ค้นพบทั้ง 5 ด้าน ไปสร้างเป็นรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพของครอบครัว ชุมชนตามปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และนำไปใช้เพื่อส่งเสริมพลังของครอบครัวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2562). นิยามและประเภทครอบครัว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://infocenter.nationalhealth.or.th/

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2563b). แผนปฏิบัติการครอบครัว พ.ศ. 2563-2565. In กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล. (2563). การเสริมสร้างความโพธิ์อบอุ่นของครอบครัวลักษณะเฉพาะ ในพื้นที่เป้าหมายครอบครัวอบอุ่น. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 28 (1), 197–234.

เมธิรา ไกรนที, วันชัย ธรรมสัจการ และ อุทิศ สังขรัตน์. (2563). ครอบครัว: สถาบันหลักทางสังคมกับบทบาทการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33 (1), 1–16.

วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2560). ครอบครัวทางเลือกและการคงอยู่ของสถาบันครอบครัว. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 (2), 1817–1827.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ค ร อ บ ค รั ว อ บ อุ่ น ชุ ม ช น เ ข้ ม แ ข็ ง ความรู้สำหรับการพัฒนาครอบครัวในชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/1e438768-cdb8-e911-80e8-00155d09b41f

Kadushin, C. (2012). Understanding social networks: Theories, concepts and findings. New York: Oxford University Press.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Mo, L. (2017). Family Problems in Thai Society : Reflection from Thai Novels during 1965-2014. Liberal Arts Review. 12 (23), 1–12.

Sandelowski, M. (2000). Whatever happened to qualitative description? Research in Nursing & Health, 23, 334-340.

Turkat, D. (1980). Social networks: Theory and practice. Journal of Community Psychology. 8 (2), 99-109.