การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) และเทคนิคการตั้งคำถามการอ่านเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ของนิสิตปริญญาตรี

Main Article Content

จุรีภรณ์ มะเลโลหิต

บทคัดย่อ

           การอ่านเป็นทักษะสำคัญในการได้รับซึ่งความรู้ นิสิตปริญญาตรีมีความตระหนักดีว่าการได้มาซึ่งความเข้าใจผ่านการอ่านที่มีแรงจูงใจให้พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์สำหรับการแสดงความคิดเห็นและสรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ๆ ได้และการอ่านยังช่วยพัฒนาความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศอีกด้วย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) และเทคนิคการตั้งคำถามการอ่าน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ของนิสิตปริญญาตรี ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ และ 3) เพี่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ มีค่าเท่ากับ 79.81/81.52 แสดงให้เห็นว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ของนิสิตปริญญาตรี โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ หลัังเรีียนสููงกว่่าก่่อนเรีียนอย่่างมีีนััยสำคััญทางสถิิติิที่่ระดัับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชภร ภัทรประเสริฐ, ทัศนีย์ นาคุณทรง และ ทิพา พรสุจารี. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคช์ (MIA) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 16 (1), 1-12.

ฉวีวรรณ วัฒนานุกิจ, สุนิตย์ ตาเย็นทั่ว และ พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สระเสียงสั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16 (3), 14-23.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 1-20.

ทยาตา รัตนภิญโญวานิช. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 15 (3), 46-60.

ทัศนีย์ รอดมั่นคง และ พจนีย์ เชื้อบัณฑิต. (2567). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตามแนวทางการผลิตผักปลอดภัยสู่มาตรฐานผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (2), 1-16.

ธนพงศ์ ทิพย์ธานี และ ทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Buddhist Education and Research. 7 (3), 248-258.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปุญชรัสมิ์ สนธิรักษ์, สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนครสวรรค์. Journal of Buddhist Education and Research. 9 (2), 15-27.

มนัสวี ดวงลอย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3 (1), 151-165.

รัชนีกร สิงห์โต และ สุธาทิพย์ งามนิล (2564) ผลการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย. 12 (1), 95-106.

วันเพ็ญ ขำเหม และ วราภรณ์ วราธิพร. (2564). แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคโดยเน้นเนื้อหาอาเซียน. วารสารนิสิตวัง. 21 (2), 12-26.

สิริดนย์ แจ้งโห้, สิริมา ป้วนป้อม, อมลณัฐ หุ่นธานี และ สำราญ มีแจ้ง. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารอักษราพิบูล. 2 (2), 42-56.

สุมาลี เพชรคง และคณะ (2563) ศึกษาผลของการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 13(1), 69-82.

อาธิติยา งอกสินและพรพิมล รอดเคราะห์. (2565). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและกลยุทธ์การอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Modern Learning Development. 7 (9), 55-71.

Murdoch, George S. (1986). “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading,” English Teaching Forum. 34 (1), 9-15.