ยุทธศาสตร์การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน

Main Article Content

เอกชัย พุมดวง
ยุสนีย์ โสมทัศน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย 2) ศึกษาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย และ 3) เสนอยุทธศาสตร์การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมของในบริบทสังคมไทยและกลุ่มประชาคมอาเซียน  การออกแบบการวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน 400 คนและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดยข้อมูลเชิงปริมาณใช้สิถิติเชิงพรรณาและข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการตีความหมายของข้อมูล
          ผลจากการวิจัย 1) พฤติกรรมและความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ด้านการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ด้านลักษณะทางกายภาพและการจัดกิจกรรม ด้านการรองรับด้านการท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการและ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =3.05, S.D. =0.70) 2) การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย พบว่า พบว่า มีกิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ การชมสถานที่ท่องเที่ยว การจัดมหกรรมเทศกาลและงานประเพณี การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และศูนย์เรียนรู้ชุมชนแก่นักท่องเที่ยว โดยมีปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดความพร้อมและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยว การขาดทักษะความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ และ 3) ยุทธศาสตร์การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมของในบริบทสังคมไทยและกลุ่มประชาคมอาเซียน พบว่า ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวทางเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก เกิดสังข์. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ : กรณีศึกษาตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2565). โครงการสำรวจเพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ภายหลังการเปิดประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อินทัชรีเสิร์ชแอนด์คอนซัลแทนซี่.

จาตุรงค์ โพคะรัตน์ศิริ. (2557). มรดกโลก-มรดกใคร? สุโขทัยกับการเปลี่ยนกระบวนวิธีคิดด้านท่องเที่ยววัฒนธรรม. TAT Tourism Journal. 3 (1), 20-24.

ดาริน วรุณทรัพย์. (2561). รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2557). แนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวไทย. TAT Review Magazine. 1(4)(ตุลาคม-ธันวาคม). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ธนวัฒน์ เอกสมุทร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับชมสื่อออนไลน์ด้านการท่องเที่ยว. วิทยาลัยการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์. 18 (1), 31-50.

พรลภัส อุณาพรหม. (2560). การสื่อความหมายเนื้อหาแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์อยุธยา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Belch, M. A., and Belch, G. E. (2008). การโฆษณาและส่งสริมการตลาด . แปลโดย กมล ชัยวัฒน์ .กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิว.

Best, J.W. & Kahn, J.V. (2006). Research in Education. 10th Ed. Cape Town: Pearson Education.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management. 21 (1), 97-116.

Getz, D. (2008). Event tourism: definition, evolution, and research. Tourism Management. 29 (3), 403-428.

Inskeep, E. (1991). Tourism Planning: An Integrated and Sustainable Development Approach. New York: Van Nostrand Reinhold.

Staiff, R. (2013). ‘Lost in Translation’? Conversing across cultures at heritage sites. ICOMOS International Cultural Tourism Committee Workshop and Sukhothai International Cultural Tourism Expert Symposium 2013. Thammasat University and DASTA.