ภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า

Main Article Content

พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
ภาสกร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า โดยใช้วิธีการวิจัยอนาคตเดลฟายแบบปรับปรุงและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญจาก 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ ข้าราชการฝ่ายปกครอง และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับรอบที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมส่วนรอบที่ 2 และ 3 วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
          ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า ดังนี้ (1) บทบาทผู้นำ ประกอบด้วย บทบาทการปกครอง บทบาททางสังคม และบทบาทกลไกของรัฐ (2) มีความรู้ ประกอบ กฎหมาย ระบบราชการ งานสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม การประกอบธุรกิจและการอาชีพ (3) มีทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการวางแผน ทักษะการไกล่เกลี่ย ทักษะทางเทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน (4) บุคลิกภาพ ประกอบด้วย การมีมารยาทและรู้กาลเทศะในสังคม การแต่งตัวดีสะอาดเรียบร้อย การแสดงออกอย่างเหมาะสม และการมีวาจาที่ดี (5) มีคุณธรรม ประกอบด้วย มีความยุติธรรม มีทัศนคติที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความโปร่งใส (6) มีการร่วมมือ ประกอบด้วย การปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การรับฟังปัญหาทุกภาคส่วน การตัดสินใจร่วมกัน และการสร้างเป้าหมายร่วมกัน (7) ภูมิหลังทางสังคม ประกอบด้วย ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เครือข่ายทางการเมืองในพื้นที่ บารมีทางการเมือง และประสบการณ์การทำงานสังคม และในการพัฒนา (1) ต้องมีการกำหนดวาระ (2) การเรียนแบบออนไลน์ (3) ต้องกำหนดตัวชี้วัด (4) มีระเบียบรองรับการพัฒนา (5) มีบทลงโทษถ้าไม่พัฒนาตนเอง     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2559). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

จำเนียร จวงตระกูล. (2565). การวิจัยเชิงคุณภาพ: แนวทางการนำไปใช้เพื่อดำเนินการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด.

จินดาภา ลีนิวา อัจฉราภัทร เขมอัครเจตต์ และเบญจวรรณ เบญจกรณ์. (2564). คุณลักษณะภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้นำชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษา : เทศบาลตำบล นางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. HRD Journal. 12 (2), 41 - 57.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2553). เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research). ในทศพร ศิริสัมพันธ์ (บรรณาธิการ), เทคนิควิเคราะห์นโยบาย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุมพล หนิมพานิช. (2551). ผู้นำ อำนาจและการเมืองในองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เจริญ รุ่งแสงจันทร์ และประณต นันทิยุกุล. (2560). การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำนันและผู้ใหญ่บ้านของจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 7 (3), 237 - 248.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). "ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ" แบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา. 11 (2), 23–36.

Abidin, A. Z. (2022). The Influence of Digital Leadership and Digital Collaboration on the Digital Skill of Manufacturing Managers in Tangerang. International Journal of Artificial Intelligence Research. 6 (1),1 – 8.

Ashikali, T., Groeneveld, S., & Kuipers, B. (2020). The Role of Inclusive Leadership in Supporting an Inclusive Climate in Diverse Public Sector Teams. Review of Public Personnel Administration. 41 (3), 1 - 23.

Breevaart, K., & Pletzer, J. L. (2023). Follower-leader HEXACO personality fit and follower work engagement. European Journal of Work and Organizational Psychology. 32 (5), 720 - 730.

Cuppello, S., Treglown, L., & Furnham, A. (2023). Personality and management level: Traits that get you to the top. Personality and Individual Differences. 206 (2), 112108.

DuBrin, A. J. (2013). Principle of leadership. (7th ed.). International Edition: South-Western.

Eid, J., Hansen, A. L., Andreassen, N., Espevik, R., Brattebø, G., & Johnsen, B. H. (2023). Developing local crisis leadership – A research and training agenda. Frontiers in Psychology. 14 (-), 1 - 9.

Hsieh, H. F., & Shannon, S. E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research. 15 (9), 1277–1288.

Malik, S. (2023). From manager to inclusive leader: traits and tactics for success. Strategy & Leadership. 51 (5), 16 - 21.

Meuser, J. D., & Smallfield, J. (2023). Servant leadership: The missing community component. Business Horizons. 66 (2), 251 – 264.

Provitera, M. J., Quamina, L. B., & Sayyadi, M. (2023). Leadership, Courage, and Ethical Behavior: An Executive Approach. Journal of Business, Technology and Leadership. 5 (1), 1 - 13.

Shorobura, L., & Dolynska, O. (2023). Leadership in public administration: today's challenges. Journal of Education, Health and Sport. 13 (2), 299 - 308.

Soeardi, E. K., Ilhami, R., & Achmad, W. (2023). The Role of Leadership in the Development of Public Organizations. Journal of Governance. 7 (4), 877 - 884.

Sriwahyuni, N., Larasati, E., Suwitri, S., & Amiruddin. (2020). Leadership Commitment in Transparency Management of Public Information in Pemalang District, Indonesia. Expert Journal of Business and Management. 8 (1), 67 - 75.

Thiers, C., & Wehner L. E. (2022). The Personality Traits of Populist Leaders and Their Foreign Policies: Hugo Chávez and Donald Trump. International Studies Quarterly. 66 (1), 1-11.

Vivona R. (2023). The new era leadership for the public sector? Entrepreneurship, effectiveness, and democracy. Public Management Review. Advance online publication. https://doi.org/10.1080/14719037.2022.2162957

Yas, H., Alkaabi, A., ALBaloushi, N. A., & Adeedi, A. A. (2023). The Impact of Strategic leadership practices and Knowledge sharing on employee’s performance. Polish Journal of Management Studies. 27 (1), 343 - 362.

Yukl, G. A. (1974). Handbook of leadership. New York: The Free Press.