พฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยสมรรถนะทางการเงินที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ และ 4. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารการเงินได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.83 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาความแตกต่างค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีเพศ อาชีพ สถานภาพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันทำให้พฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต่างกัน 2) พฤติกรรมการบริหารการเงินที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน ทำให้พฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการไม่ต่างกัน 3)ปัจจัยสมรรถนะทางการเงิน ด้านรายได้ ด้านการใช้จ่าย และด้านการออม มีผลต่อพฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของกลุ่มพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ และ 4) แรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารการเงินภายหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กานต์วิณี โรจน์วงศ์วรา. (2563). พฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรังสิตสารสนเทศ. 26 (1), 1-15.
กิ่งเธียร มีนะกนิษฐ ขันติกุล .(2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษาพนักงานราชการ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนพร จันทร์สว่าง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
พรทิพย์ จิระธารง และคณะ. (2562). การเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการจัดการการเงินส่วนบุคคลก่อน และหลังเรียนรายวิชาการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เพรียว เสรีรักษ์. (2559). ปัจจัยการวางแผนการเงินก่อนการเกษียณของครูโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
รุ่งตะวัน แซ่พัว. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการออมและการลงทุนของ Generation X ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรุติ กิตติมหาชัย. (2560). การศึกษาการวางแผนการใช้ชีวิต การวางแผนเรื่องการเงิน และการพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรัญรัตน์ เปลี่ยนเป้า. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลของพนักงานธนาคารกรุงเทพมหานคร สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาพร อานา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรวิทยาลัย เทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและการบริหารธุรกิจ.
สุชาดา นกหงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สยานนท์ สหุนันต์. (2561). พฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (2). 369-383.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562. แหล่งที่มา: https://www.m society.go.th/article_attach/ 14494/18145.pdf.
อดิศร โชคชัยสิริ.(2563). พฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล ของพนักงานบริษัทในเครือ คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุไรวรรณ ปลอดใจดี. (2560). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.