การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรอินทรีย์บางกระทุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ และ 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่ได้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำกลุ่มองค์กรในชุมชน และบุคลากรด้านสุขภาพ เครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามประเด็นเนื้อหา และข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลก่อนหลังโดยสถิติ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจการเข้าถึงข้อมูลและพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี รูปแบบที่ได้มี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บทบาท คือ (1) ปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพ (2) สร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ (3) พัฒนาทักษะการปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 2) กลุ่มผู้นำชุมชน และท้องถิ่น บทบาท คือ (1) สร้างเสริมการรวมตัวของคนในชุมชน (2) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน (3) สร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และ 3) กลุ่มบุคลากรหน่วยบริการสุขภาพ บทบาทคือ (1) จัดบริการสุขภาพเชิงรุกเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (2) พัฒนาทีมสหวิชาชีพ (3) สนับสนุนข้อมูล สื่อสารความรู้ด้านสุขภาพ และพบว่าหลังดำเนินการตามรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.001) แสดงว่ารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพนี้ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมี ความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของตนเองดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการ เจ็บป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตประจำวันได้จึงควรนําไปประยุกต์ใช้ในเครือข่ายของชุมชนต่อไป
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ประวัติศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/ifNQ3
กัตติกา ธนะขว้าง และคณะ. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารพยาบาลศาสตร์. 28 (3), 60-68.
กาญจนา พรหมทอง และคณะ. (2563). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 26 (2), 141-160
ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2564). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิขปรัชญา เรืองไชย. (2561). การสร้างชุมชนต้นแบบ"ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้คู่หูบัดดี้ ผูกเสี่ยว อสม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: http.www.//203. 157.186.16/kmblog/page_research_detail.php? ResID=878.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2562). การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/get-to-know-thaihealth/about-thaihealth/
สุชาติ พริกเล็ก และ คณะ. (2565) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9 (4), 436-452.
สุนันทา ศรีศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการ สาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ. 15 (ฉบับพิเศษ), 308-315.
อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเองผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระดับเล็กน้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อิทธิพล คุ้มวงศ์. (2554). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขต อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Pender, N. J., Murdaugh, C., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice. 4th edition. NewJersey: Upper Saddle River;
World Health Organization. (17-21 Nov, 1986). Ottawa charter for health promotion. In First InternationalConference on Health Promotion, 405–460. Ottawa,Canada: World Health Organization.