การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นในบริบทอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ ปริสุทธิ์กุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นบริบทอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้หลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นบริบทอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง กับนักเรียนโรงเรียนบ้านย่านตาขาว จังหวัดตรัง 3. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นในบริบทอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีแบบแผนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคคลในชุมชน เครือข่ายชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนบ้านย่านตาขาว จังหวัดตรัง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร 2)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน 3)แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โดยใช้สถิติ t-test dependent
         ผลวิจัยพบว่า
         1) หลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นในบริบทอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีจำนวน 5 หน่วยได้แก่ ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของอำเภอย่านตาขาว  วัฒนธรรมอาหารย่านตาขาว  ลิเกป่า  แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̅ = 4.54, S.D. =0.28)
        2) ผลการจัดการเรียนรู้พบว่าผลประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นในบริบทอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (x̅ = 4.56, S.D. =0.36)
       3) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลักกระทรวงศึกษาธิการ

ชัยวัฒน์ ทองเพ็ช และ สุธาทิพย์ งามนิล. (2563). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ. 10 (1), 95-107.

ฐาปกรณ์ จิ๋วสุข และ สุธาทิพย์ งามนิล. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่นเรื่องบรรเลงเพลงทัพทัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและสังคมศาสตร์. 14 (1), 107-120

เบญจวรรณ หันจางสิทธิ์ และ สุมาลี ชัยเจริญ. (2562). การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาร Humanities, Social Sciences, and Arts. 12 (2), 846-866.

พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เทคนิคแผนที่นำทางการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฟาดีละฮ์ ศรัทธาสุภัคกุล, วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์. (2559).การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง พืชภูมิปัญญา ที่ใช้กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (1), 37-46.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สกุลวัฒน์ รัชนีกร, สภณภัทร ศรีแสงยงค์ และ สฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา เรื่องเมืองพัทยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (3), 329-341.

Dobyns, W. B., Pagon, R. A., Armstrong, D., Curry, C. J., Greenberg, F., Grix, A., ... & Reynolds, J. F. (1989). Diagnostic criteria for Walker‐Warburg syndrome. American journal of medical genetics. 32 (2), 195-210.