การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดแสงประดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

มีนา พลสุวรรณ
อัญชลี แสงอาวุธ
กฤษณี สงสวัสดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ Survey  Question  Read  Record  Recite  Reflect เอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีประสิทธิผล (E.I.) ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเท่ากับ 0.5 ขึ้นไป 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังการด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด3) ศึกษาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความจำนวน 4 ชุด แผนจัดการเรียนรู้จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30 ข้อ แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความ 20 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.33/82.10 และมีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 24.07 สูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 9.71 3) ทักษะการอ่านจับใจความหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 15.07 สูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 6.36 และ4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับมาก (µ = 4.48, σ = 0.60)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไกรษร ประดับเพชร. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์. โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2561.

จิตรลดา อ้นวงษา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง แม่กลองบ้านเรา โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชฎารัตน์ ภูทางนา. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง (บูรวิทยาคาร). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชลธิชา ปานยิ้ม. (2566). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 .วารสารนิสิตวัง. 25 (1), 21-22.

ธัญลักษณ์ อ่างแก้ว. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 18 (1), 50-51.

ธิดา บู่สามสาย. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: เจเนซิส มีเดียคอม.

นันทวัน สมสุข และสุชาดา ปัทมวิภาต. (2565). สะท้อนประเด็นจากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน. สสวท สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี www.ipst.ac.th : IPST MAGAZINE. 50 (273), 50-52.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปภัสรา ผาคำ. (2561). การอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน. พิฆเนศวร์สาร. 14 (2), 77-88.

พัฒน์นรี ธรรมาภิมนฑ์. (2562). ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นระถมศึกษาที่ 6 ที่เรียนโดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 10 (1), 161.

พิมพ์ชนก เนื่องทะบาล. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพันธ์ เดชคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2556). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพวรัญ พนมอุปการ. (2566). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

รุจิษยา สิทธิมณี. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วราวรรณ นันสถิตย์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แวดาห์รี เปาะแว. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความเรื่อง เหตุการณ์สำคัญในสมัยคุละฟาอฺอัลรอชิดีนโดยใช้รูปแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI). 3 (2), 56-57.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำลี รักสุทธี. (2553). สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออก อ่านได้ อ่านคล่อง อ่านเป็น เขียนได้ เขียนคล่อง และเขียนเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาการศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนันทา กินรีวงค์. (2560). การอ่าน. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ชัยมงคลปริ้นติ้ง.

สุมาลี ชูบุญ. (2560). ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2553). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

อภิญญา โนบันเทา. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นระถมศึกษาที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ .วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5 (3), 161.

Byerley, R. Aaron. (2002). Using Multimedia and “Active Learning” Tchniques to “Energize” An Introductory Engineering Thrmodynamics Class. Frontiers in Education Conference.

Lyman, F. (1981). The responsive classroom discussions: the inclusion of all students. A. Anderson (Ed.), Mainstreaming Digest, College Park : University of Maryland Press, 109-113.

Walter Pauk. (1984). The New SQ4R. Journal Reading World. 23 (3), 274-275.