การนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ไปปฏิบัติ ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

วิจิตตรา ธัญวริษณิรินทร์
ศรชัย ท้าวมิตร
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปปฏิบัติ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปปฏิบัติ และศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปปฏิบัติ เป็นการวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร ที่มีภาวะพึ่งพิง ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 36 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 
          1) ปัญหาการนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปปฏิบัติ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบบการดำเนินงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งในจังหวัดพิจิตร ไม่มี CM และ CG ที่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในด้านสาธารณสุขโดยตรง ระบบมีการดำเนินงานหลายขั้นตอน นโยบายและแผนงานคู่มือระเบียบไม่ชัดเจน งบประมาณล่าช้าไม่เพียงพอ 2) ด้านระบบฐานข้อมูล ยังมีความล่าช้า เพราะแยกส่วนกันทำ ไม่มีการบูรณาการร่วมกัน 3) ด้านความร่วมมือ ยังขาดการประสาน การทำงานร่วมกัน
          2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปปฏิบัติ ทั้ง 7 ปัจจัย  ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการ ด้านเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยี และด้านสภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .667, .589 .441, .294, .276, .266 และ .206) ตามลำดับ ได้ค่า Adjusted R Square = .777 หรือร้อยละ 77.70
          3) ประสิทธิผลของการนำนโยบายการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปปฏิบัติ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพระยะยาวครบทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ทั้งด้านสิทธิบัตรทอง สิทธิเบิกราชการ และสิทธิประกันสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ พะไกยะ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และ วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2563). การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการกําลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวรีิยาสาส์น.

โพธิ์ศรี แก้วศรีงาม. (2564). ระบบการดูแลระยะยาวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอคลอง ขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 11 (2), 306-331.

มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Contents/ Documents/Gazette/Gazette2018TH.pdf.

วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.

Cronbach, L.J. (1990), Essential of Psychological testing. (5 th ed). New York : Haper Collins.