รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างรูปแบบและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 305 คน 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกและแบบสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและวิธีการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา มี 6 องค์ประกอบ วิธีการพัฒนาครู มี 4 วิธี คือการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ผ่านสื่อ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการฝึกอบรม ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยภาพรวม มีค่าเท่ากับ 0.26 2) รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ CT-FEI MODEL 3) รูปแบบการพัฒนาครูมีความเหมาะสม มีความเป็นประโยชน์และมีความเป็นไปได้ ทุกรายการและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาได้จริง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ ส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 11 (3), 92-114.
กิ่งแก้ว ภูทองเงิน. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ระดับประถมศึกษา. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชูชาติ มงคลเมฆ. (2561). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธนกฤต อั้งน้อย. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิมาน กะริอุณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สายใจ พวงสายใจ. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระบบเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 สู่โรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 12 (2), 108-116.
สุริยาพร นพกรเศรษฐกุล. (2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดระยองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2564). แผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565-2570. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (2566-2570) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อินทิรา ชูศรีทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อุบลรัตน์ หริณวรรณ. (2563). การเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 11 (2), 77-85.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.
Makewa, L., Meremo, J., Role, E., and Role, J. (2013). ICT in secondary school administration
in rural southern Kenya: An educator’s eye on its importance and use. International Journal of Education and Development using Information and Communication Technology. 9 (2), 48-63.
Trapp, H. (1999). Benefits of an intranet - based knowledge management system measuring the effects. Online. Available: http://www.avinci.delcompetence/ publikatinoeu/diplomar beitholgetrapp.pdf, [2022, June 4].