การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางสังคมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

กิ่งแก้ว ศิริหล้า
ปนัดดา ญวนกระโทก
อังคณา ตุงคะสมิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น 3) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ครูผู้สอนจำนวน 36 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 242 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นสำหรับครูผู้สอนและนักเรียนโดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะทางสังคมของครูผู้สอน และแบบสังเกตทักษะทางสังคมในห้องเรียนของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และดัชนีสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น (PNImodified ) ผลการวิจัยพบว่า ผลการร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ดังนี้  1) แนวคิด/ทฤษฎี/หลักการของรูปแบบ 2) เป้าหมายของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการเรียนการสอน มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Sensation: S) 2) ขั้นคัดสรรกิจกรรม (Selection Activities: S) 3) ขั้นเรียนด้วย ช่วยกัน (Study Together: S) 4) ขั้นการสรุปและประเมินผล (Summarize and Evaluation: S) 4) ระบบเชิงสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน 7) การนำรูปแบบไปใช้ 8) ผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 9) กำหนดแนวทางการประเมิน โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญา สมบูรณ์. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง ในอำเภอปาง มะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เฉลิม เพิ่มนาม. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนสะกดคำและทักษะทางสังคมของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา หลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาติชาย ม่วงปฐม. (2557). ทฤษฎีการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

ดุษณี รัตนวราห. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ โดยกำกับตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ภาณุมาศ หอมบุญยงค์. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น. (2562). หลักสูตร 8 กลุ่มสาระ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562. แหล่งที่มา: http://www.kkict.org/~kkedu/?

สุนีย์ ชัยสุขสังข์ (2562). สสค. เปิดผลสำรวจทักษะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.qlf.or.th/Mobile/Details?contentId=570

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2565). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2547). การวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีย์รัตน์ โนนสุวรรณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Ollhoff, J & Ollhoff, L. (2004). Getting Along Teaching Social Skills to Children and Youth. MN : Sparrow Media Group.

Johnson, D. W. & Johnson, R. T. (1987). Learning Together and Alone: Cooperative and Individualistic Learning. 4th ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Joyce, B., M. Weil, & E. Calhoun. (2015). Models of Teaching. 9th ed. Boston: Pearson Education.

Piaget, J. (1960). The Moral Judgment of the child. 3rd ed. London: Rout ledge & Kegan Paul Ltd.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, M.A.: Harvard University Press.