บรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรม ของบุคลากรสถาบันการอาชีวศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

เอกนันท์ ทองจันทร์
สรัญณี อุเส็นยาง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงนวัตกรรม และ 3) เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสถาบันการศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้ คือ บุคลากรของสถาบันการศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนใต้ มีจำนวน 297 คน โดยได้มาจากการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan (1970)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับบรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นอิสระ ด้านการให้การสนับสนุนของหัวหน้างาน ด้านการให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรที่เพียงพอ ด้านการสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม ด้านการสนับสนุนขององค์การ และด้านงานที่ท้าทาย ตามลำดับ 2) ระดับพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสถาบันการศึกษาการอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการมีความคิดริเริ่มใหม่ ด้านการนำเสนอหรือส่งเสริมแนวความคิดใหม่ และด้านการทำให้ความคิดสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3) บรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ ด้านการสนับสนุนขององค์การ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอ และด้านงานที่ท้าทาย ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากร โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กามนิต ใบถักดี. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธงชัย รู้ข่าว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญพร ภาคคู. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัการนวัตกรรมธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บวรรัฐ มาเจริญ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 31 (1), 90-100.

ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน: แนวคิด ปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. 10 (1), 25-41.

พัชราภรณ์ ควรคำนึง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัทขนาดใหญ่ ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภควัต สงวนจีน และประสพชัย พสุนนท์. (2564). บรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานบริษัทข้ามชาติ พื้นที่กรุงเทพมหานค และปริมณฑล.วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (2), 117-132.

สุรีวัลย์ ใจงาม. (2560). บรรยากาศองค์กร แรงจูงใจในการทำงานในการปฎิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Amabile, T. M. (1997). Motivating creativity in organizations. California Management Review. 40 (1), 39-58.

Cilla J.R. (2011). Exploring the relationship between organizational citizenship behavior and organizational climates for creativity. The Faculty of the Department of Psychology San José State University.

Scott, S. & Bruce, R. (1994). Determinants of innovative behavior: A path of individual innovation in the workplace. Academy of Management Journal. 37 (3), 580–607.