การประเมินความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อสภาพ ผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับการประกอบธุรกิจการปลูกไม้ขุดล้อม

Main Article Content

ทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง
อรสา จรูญธรรม
สมบัติ คชสิทธิ์
สุวรรณา จุ้ยทอง

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อสภาพปัจจุบันและต่อสภาพที่คาดหวังในผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ จริยธรรม ลักษณะบุคคลและสมรรถนะบุคคลด้านการเขียนแผนธุรกิจสำหรับการประกอบธุรกิจการปลูกไม้ขุดล้อมกลุ่มเป้าหมายคือผู้มีส่วนได้เสียภายนอกและภายใน จำนวน 55 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดแบบตอบสนองคู่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น
        ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน โดยภาพรวม มีค่าดัชนี PNImodified เท่ากับ 0.803 (มากกว่า 0.350) ถือว่ามีความต้องการจำเป็นที่เป็นจุดเน้นสำคัญที่ต้องนำไปพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพที่คาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นพบว่ามีลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทักษะ(PNImodified = 0.854) สมรรถนะบุคคลด้านการเขียนแผนธุรกิจ(PNImodified = 0.832) ด้านจริยธรรม(PNImodified = 0.819) ด้านความรู้(PNImodified = 0.759) และด้านลักษณะบุคคล(PNImodified = 0.751) ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้จะถูกนำไปกำหนดเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร สำหรับการพัฒนารูปแบบหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการประกอบธุรกิจการปลูกไม้ขุดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non degree). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา https://www. mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/pr/announcement-news/6737-non-degree.html.

กิตติชัย วัฒนานิกร. (2565). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา: https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/ item/6940-2022-07-22-02-54-49.

กิตติชัย วัฒนานิกร. (2565). รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้แต่ละด้านตามคุณวุฒิแต่ละระดับ เอกสารแนบท้ายประกาศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา: https://www.ops.go.th /th/ches-downloads/edu-standard/item/6940-2022-07-22-02-54-49.

เกรียงไกร เธียรนุกุล. (2566). อัปเดตโครงการส่งต้นไม้ไปซาอุ ส.อ.ท. คาดดีลจบสิ้นปีนี้และเริ่มปลูกปี

หน้า. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566. แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/

business/696540.

ณัฐศักดิ์ สุขศรี. (2565). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ “สวนป่าไม้ขุดล้อมเพื่อการส่งออก…เกษตรสร้าง

มูลค่า บจก. เรียล แม๊กซ์ คอร์ปอเรชั่น. การอภิปรายเสวนาอบรมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางมาตรฐาน

การปลูกสวนป่าไม้ขุดล้อมเพื่อการส่งออกไปประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง" วันที่ 13 สิงหาคม 2565

ณ ห้องประชุมนิโลตบล ชั้น 2 Valaya Hotel มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

เมษา นวลศรี และคณะ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. Journal of Roi kaensarn Academi. 6 (6), 34-51.

อนุชา บูรพชัยศรี. (2566). นายกฯ ผลักดันส่งออกต้นไม้ ไปยัง "ซาอุดีอาระเบีย" เพิ่มรายได้ให้คนไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/

politic/2704291.

อนุสรณ์ หนองบัว และ ธเนศ ศิรินุมาศ. (2566). Business Model Canvas (BMC). รายงานเรื่อง

“ยกระดับขนมถ้วยโบราณสู่วิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน” หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง ปปร. 26. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566.

แหล่งที่มา https://kpi-lib.com/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=mmvw&db=Main&skin=

s&mmid=12443&bid=30217.

ยงยุทธ รวยลาภ. (2567). แผนธุรกิจการปลูกไม้ขุดล้อมสายพันธุ์ต่างประเทศตามโมเดล BMC. เอวาฟาร์ม

บรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำธุรกิจการปลูกไม้ขุดล้อมสายพันธุ์ต่างประเทศ. ในการอบรม

เชิงปฏิบัติการ “การปลูกไม้ล้อมเพื่อให้ได้มาตรฐานการส่งออก” วันที่ 22-24 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ

มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว.

เรขา อรัญวงศ์ และคณะ. (2560). รูปแบบการจัดการศึกษาวไลยอลงกรณ์สำาหรับการศึกษายุค 4.0 (VRU

Model for Education 4.0). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา: http://qa.vru.ac.th/km/doc/59/reportkm-edu.pdf.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2564). COP26 สู่ความยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564.

แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/columnist/969906.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abdullah Al Mamun. (2019). Entrepreneurial knowledge, skills, competencies and

performance A study of micro-enterprises in Kelantan, Malaysia. Asia Pacific

Journal of Innovation and Entrepreneurship. 13 (1), 29-48.

Trilling Bernie & Fadel Charles. (2009). 21st Century Skills learning for life in our times.

Printed in the United States of America first edition. Online Retrieved from

http://ardian.id/wpcontent/uploads/2018/10/21st_Century_Skills_Learning_for_Life_ in_Our_Times_2009-3.pdf.

Spady, W.G. (1994). Outcome-Based Education: Critical Issues and Answers. Arington, VA:

American Association of School Administrators. 212 p.

Wiggins, G., & McTighe, J. (2011). What is backward design?. Understanding by design, 7-19.