รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 315 คน 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การปรับตัวและมีความยืดหยุ่นและการกระตุ้นทางปัญญา 2) ผลการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา คือ รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้ I-SIMTA MODEL 3) รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความเหมาะสม มีความเป็นประโยชน์และมีความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ในสถานศึกษาได้จริง
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภวัต มิสดีย์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัชนี บุญกล่ำ. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาอย่างยั่งยืน. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
รุ่งอรุณ หงษ์เวียงจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ลภัสรดา ผลประทุม. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
Bass, B.M., & B.J. Avolio. (1994). Transformational Leadership Development.Pola Alto, California: Consulting Psychologists Press.
Giber, D., Carter, L., & Goldsmith, M. (2000). Linkage Inc.’s Best Practices in Leadership Development H&book. San Francisco, CA: Jossey Bass.
Gibson, L. J., Ivancevich, J. M. & Donnelly, J. H. (2000). Organizations, Behavior Structure Processes. (9th ed.). United States: The McGraw-Hill Companies.
Leithwood, K., M., T., & Jantzi, D. (1996). Earning teachers’ commitment to Curriculum reform. Peabody Journal of Education. 69 (4), 38-61.
Ward, K. (2002). A vision for tomorrow: Transformational nursing leaders. Nursing Outlook, 50 (3), 121 -126.