การตีความคำสอนทางพุทธศาสนาในประเพณีการสร้างปราสาทผึ้งของชาวอีสาน

Main Article Content

โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
พระเทพวชิรวิมล
พระมหาสากล สุภรเมธี
สงวน หล้าโพนทัน
พระครูสีลสราธิคุณ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประวัติพัฒนาการการสร้างปราสาทผึ้งของชาวอีสาน 2. ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการตีความ และ 3. ศึกษาการตีความคำสอนทางพุทธศาสนาในประเพณีการสร้างปราสาทผึ้งของชาวอีสาน เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือวิชาการทางพุทธศาสนาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เหตุผลและให้เหตุผล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
           ผลการศึกษาพบว่า
           ปราสาทผึ้งคือการทำต้นดอกผึ้ง โดยนำเอาขี้ผึ้งมาต้มให้ละลายจนเป็นน้ำ และใช้มะละกอมาแกะสลักลวดลายเป็นแม่พิมพ์แล้วนำไปจุ่มลงในขี้ผึ้งร้อนๆ จากนั้นจุ่มลงแช่น้ำเย็นขี้ผึ้งก็จะหลุดออกจากแม่พิมพ์เป็นดอกผึ้งสวยงาม ปราสาทผึ้งจะมีดอกไม้ ธูป เทียน และอื่นๆ แล้วแห่ไปถวายเป็นพุทธบูชา นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การสร้างปราสาทผึ้งของชาวอีสานทำเพื่อนำไปบูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ทฤษฎีที่ใช้ในการตีความคำสอนมี 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีทางภาษา ทฤษฎีทางศาสนา และทฤษฎีทางปรัชญา
           การตีความคำสอนทางพุทธศาสนาพบว่า ปราสาทผึ้งเปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบกันขึ้นจากธาตุ 4 ได้แก่ สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ขันธ์ 5 ได้แก่ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม รวม  5 หมวด ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา, เทียนแทนแสงสว่างจากพระธรรม เทียน 2 เล่มจึงแสดงถึงพระธรรมวินัย และกระบวนแห่แทนพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้มาจากตระกูลที่หลากหลายต่างเผ่าพันธุ์ แต่งดงามได้เพราะมีพระธรรมวินัยเป็นเครื่องร้อยเรียงให้สวยงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วงษาสันต์ และคณะ.(2543). วิถีไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บุ๊คพอยท์ จำกัด.

กิติยา อูทวิ. (2557). “ความเชื่อและคุณค่าของการสร้างพระพุทธปฏิมาสำริดในล้านนา”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. (2523). รักเมืองไทยเที่ยวเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศิริกุลการพิมพ์.

วิมล ไทรนิ่มนวล. (2543). สกลนคร ถิ่นฐานของชุมชนเมืองโบราณ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ เอส พี เอฟ พริ้นติ้ง.

หนังสือเฉลิมพระเกียรติ. (2545). วัฒนธรรมการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2552). “การศึกษาวิเคราะห์อรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.