การสร้างสรรค์อาหารไทยจากทุนวัฒนธรรมสำหรับผู้ประกอบการร้านคาเฟ่ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

อภิญญา มานะโรจน์
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง
คงศักดิ์ ศรีแก้ว

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องของผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านคาเฟ่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์อาหารไทยจากทุนวัฒนธรรมสำหรับผู้ประกอบการร้านคาเฟ่จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม จากผู้ประกอบการร้านคาเฟ่ จำนวน 10 คน ผู้ใช้บริการร้านคาเฟ่ จำนวน 400 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารจำนวน 18 คน


ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่าสภาพปัญหาความต้องของผู้บริโภคร้านคาเฟ่ นิยมรับประทานภายในร้าน เครื่องดื่มประเภทกาแฟ เลือกสั่งอาหารไทย วิธีการทอด ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพอาหารและบริการ อาหารไทยประเภทอาหารคาว อาหารจานเดียว อาหารหวานขนมประเภทนึ่ง อาหารว่างประเภททอด ผู้บริโภคต้องการเมนูอาหารจานเดียวเป็นอาหารประจำร้านคาเฟ่ อาหารไทยสร้างสรรค์ควรมีความสวยงามน่ารับประทาน ส่วนสภาพปัญหาความต้องของผู้ประกอบการร้านคาเฟ่ คือรายการอาหารจะเน้นความต้องการของผู้บริโภคและความชำนาญผู้ประกอบอาหาร อาหารมีขั้นตอนการปรุงที่ไม่ยุ่งยาก เน้นด้านรสชาติ ต้นทุน วัตถุดิบ ระยะเวลา ประเภทอาหารไทยในร้านได้แก่ อาหารจานเดียว อาหารหวาน อาหารว่าง และนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างสรรค์โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น มีเรื่องเล่า


ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า แนวทางการสร้างสรรค์อาหารไทยจากทุนวัฒนธรรมสำหรับผู้ประกอบการร้านคาเฟ่จังหวัดพิษณุโลก หรือเรียกว่า 4C-TIPS  มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทุนทางวัฒนธรรม(Culture Capital) 2) การสร้างสรรค์ (Creat) 3) การประกอบอาหาร(Cooking) 4) ราคา(Cost) 5) ระยะเวลาการเตรียมอาหาร (Timming) 6) วัตถุดิบ(Ingredients) 7) การสร้างความนิยม(Presentation)  8) เรื่องเล่า (Story Telling)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www2.m-culture.go.th/policy/ewt_news.php?nid=380

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, สนธิญา สุวรรณราช, และกาญจนา คุมา. (2563). การพัฒนาอาหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อหนุนเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง. วารสารอารยธรรม

ศึกษา โขง-สาละวิน. 11(1), 152-173.

กิตติมา ชาญวิชัย และธีรพล ภูรัต. (2561). การสร้างมูลค่าด้วยการพัฒนาความเป็นตัวตนที่แท้จริงให้กับอาหารท้องถิ่นในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านการเล่าเรื่อง. รายงานการวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2544). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(1), 32-37.

จารุพร มีทรัพย์ทอง. (2565). การพัฒนาต่อยอดแบบอาหารท้องถิ่นบนฐานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉีบงเหนือตอนบน 1. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 14 (1), 401-415.

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา, อรอนงค์ วูวงศ์, และ เสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล. (2560). อาหารพื้นบ้าน : กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ. รายงานการวิจัย. วิทยาแพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร. (2559). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นารีรัตน์ ติภากร. (2559). การศึกษาความคาดหวังคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภค ชาวเมืองอันซีประเทศฝรั่งเศส. การค้นคว้าอิสระหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดการภาพลักษณ์อาหารท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 152-167.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2545). ทุนวัฒนธรรม วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก เล่มที่หนึ่ง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: : http://www.rangsun.econ.tu.ac.th/data/03/03-05-02-วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก เล่มที่ 1.pdf

วรรณนภา ติระกุล. 2562. การศึกษารูปแบบการตลาดบริการของร้านกาแฟในอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศูนย์กสิกร. (2561). ธุรกิจร้านกาแฟบริหารอย่างไรให้รุ่ง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา:

https://www.shorturl.asia/#:~:text=https%3A//www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Coffee%2DShop%2DManagement.pdf

สริตา พันธ์เทียน, ทรงคุณ จันทจร และมาริสา โกเศยะโยธิน. (2017). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา, 9 (3) ฉบับพิเศษ, 190-198.

โสภิตา วงศ์ประสิทธ์. (2562). การบริการและการออกแบบของร้านกาแฟในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีผลต่อการใช้บริการของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย. การค้นคว้าแบบอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.