รูปแบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้บริหารและครูรวมทั้งแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศการศึกษา และ เพื่อตรวจสอบรูปแบบการนิเทศการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและ ครู จำนวน 1,052 คน 2) สร้างรูปแบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้บริหารและครูรวมทั้งแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารและครูส่วนใหญ่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยความต้องการจำเป็นที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ส่วนที่ 7 การพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษา และ ส่วนที่ 2 การกำหนดคุณภาพเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา ตามลำดับ2) ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศการศึกษา คือ รูปแบบการนิเทศการศึกษาแบบ รู้ รับ ปรับ ใช้ (KACLRE Model) 3) รูปแบบการนิเทศการศึกษามีความเหมาะสม มีความเป็นประโยชน์และมีความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ในสถานศึกษาได้จริง
Article Details
References
ณัฐพล จันทร์พล. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 11 (1), 445-478.
นริศรา ใบงิ้ว. (2561). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเวียงกาหลงวนาเทวี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญสุพร เพ็งธา. (2565). รูปแบบการนิเทศในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิมพ์สุดา เอี่ยมสกุล. (2563). การพัฒนารูปแบบนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างความสามารถในการรับรองคุณภาพการศึกษาของครู.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรดนู หนูทอง. (2563). กระบวนการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายบางแพ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 12 (1), 1-17.
สิริพร บุญทิพย์. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารและการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิลา สงค์อาจิน. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู. ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการศึกษาในสังกัดเทศบาลตรัง วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สุวิมล ว่องวาณิช.(2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (2564). รายงานการนิเทศติดตามและประเมินผลการประเมินผลการจัดการศึกษาประจำปีการศึกษา 2564. นครศรีธรรมราช: กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทเวนตี้วัน เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: เอ็น. เอ. รัตนะเทรดดิ้ง.
เสาวนี สิริสุขศิลป์. (2564). ภาวะผู้นำทางการนิเทศการศึกษา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.