แนวทางการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

Main Article Content

ภูริพงษ์ รัตนานิคม
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
          1) ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติ ทั้งด้านประสิทธิผลของนโยบาย และการได้รับรางวัลจังหวัดสะอาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติมากที่สุด คือ มาตรฐานของนโยบาย (Beta = 0.911) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย (Beta = 0.844) ค่า Adjusted R Square = 0.826 หรือ 82.60% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการนำนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยไปปฏิบัติ ได้แก่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ สร้างการรับรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะมูลฝอย และสร้างมาตรการและสนับสนุนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางในชุมชนให้เกิดความสำเร็จอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”ประจำปี พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: สถาบันดํารงราชานุภาพ และกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.

เด่น ชะเนติยัง. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

นฤนาท ยืนยง และ พิชชานาถ เงินดีเจริญ. (2565).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ ขยะมูลฝอยของ

ตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12 (2), 279-297.

นพดล โปธิตา และคณะ. (2564). ประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยด้วยเตาเผาขยะชุมชนขนาดเล็ก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (8), 505-521.

พัทธยาพร อุ่นโรจน์. (2564). แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย - พลิกวิกฤต เป็นโอกาส. วารสารสิ่งแวดล้อม. 25 (1), 1-9.

ภูษิต แจ่มศรี และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2566). ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. 15 (1), 123-139.

ยาซีน มูหมัดอาลี และคณะ. (2566). ประสิทธิผลการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3R พื้นที่กลุ่มกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 7 (1), 44-57.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว และ ประภัสสร อักษรพันธ์. (2562). ผลของการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของ

ชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี,

(2). 233-248.

สิทธิพร เขาอุ่น, กฤษณะ ดาราเรือง และสมเดช สิทธิพงศ์พิทยา. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการขยะชุมชนฐานราก: องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 181-191.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.