การวิเคราะห์ความต้องการ ความสามารถ และรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าในยุควิถีใหม่ กรณีศึกษาโรงแรมและรีสอร์ทในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการปัญหา ความสามารถ และรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในยุควิถีใหม่ ประชากรที่ศึกษาคือพนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรม รีสอร์ท ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ที่ตอบรับให้ความร่วมมือจำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับคะแนนและแบบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพูดสื่อสารก่อนและหลังเรียน และสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสมผสานทั้ง การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานคะแนนเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) ระดับความพึงพอใจของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโดยภาพรวมที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้แล้ว ข้อค้นพบนี้สะท้อนให้เห็นว่าพนักงานมีความเข้าใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะการพูดน้อย ดังนั้นควรมีการจัดอบรมหลักสูตรการใช้ภาษาอังกฤษในการพูดสื่อสารพร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการที่ดีมีคุณภาพอย่างยั่งยืนในอนาคต
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
บุญพา คำวิเศษณ์. (2017). ความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับในโรงแรมและ ที่พักในจังหวัดภูเก็ต. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk Universit. 3 (3), 25-35.
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
มินตรา ไชยชนะ, สรศักดิ์เชี่ยวชาญและสุดารัตน์ทองเณร. (2559). ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับในโรงแรมจังหวัดน่านในทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ศรีจิตรา นวรัตนาภรณ์. (2564). การสร้างชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับพนักงานต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 16 (55), 105-116.
สุนิดา ปานดำรงสถิต. (2556). ศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 5 (1), 29-38.
ไพลิน ริ้วทอง และ สุรภา ไถ้บ้านกวย (2563). การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าธุรกิจโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ โครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวรรณา ยุทธภิรัตน์ และคณะ (2564). การใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรมอิสระ ในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
อนุชา คะชาชัย. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดียตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบต่างๆ ในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดอู่ตะเภา. Veridian E-journal, Slipakorn University, 5(1),93-94.
อโณทัย ทิพกนก. (2532). การวิเคราะห์ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานโรงแรมชั้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Admission Premium. (2018). ทำไมภาษาอังกฤษจึงสำคัญสำหรับคนทำงาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https:// www.Admissionpremium.com/libra/news/3570
Aunruen, R. (2005). Needs Analysis of English for Travel Agents in Ching Mai. Online. Retrieved from http://tdc.thailis.or.th/dc/basic.php.
Chaiyapantoh, P. (2008). The Needs and Problems in Using English Withforeigners of Hotel Desk staff in Mueng District. Ubon Ratchathani Province. Online. Retrieved from http://tdc.thailis.or.th/dc/basic/php.
Chayanuvat, A., Soisuwan, T., & Goenchanart, P. (n.d). A Survey of International Students’ Opinions on Digital Technology at the Master of Education Level at a Thai Private University.
Fernandez, M. C. L., & Bedia, A. M. S. (2004). Is the Hotel Classification System a Good Indicator of Hotel Quality?: An Application in Spain. Tourism Management. 25, 771-775.
Peterson, C. A., & Mc Carthy, C. (2003). Hotel Development of Cultural Tourism Elements. Tourism Review. 58 (2), 38-42.
Tsaur, S. H., & Lin, Y. C. (2003). Promoting service quality in tourist hotels: the role of HRM
practices and service behavior. Tourism Management. 25, 471-481.
Soisuwan, T., Lekdumrongsak, P., Iamlaor, A., & Chaisiri, T. (2022). An Investigation on the Use of Google Translate in Studying English Language: A case study in a university at Pathumthani Province. Rangsit Journal of Educational Studies. 9 (2), 1-24.