การศึกษาแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา พ.ศ. 2561 สู่การปฏิบัติ

Main Article Content

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ
เพ็ญนภา แก้วเขียว
ฉัตรชัย หวังมีจงมี
ลาวัลย์ พิชญวรรธน์

บทคัดย่อ

           การศึกษาแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2561 สู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2561 สู่การปฏิบัติ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล/กลุ่มเป้าหมาย/แหล่งข้อมูล ได้แก่ คู่มือ รายงานสรุปผลโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักทดสอบทางการศึกษา ปี พ.ศ. 2561-2563 ฐานข้อมูลจากระบบการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-SAR) ปี พ.ศ. 2563 รวมทั้ง ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนจากหน่วยงานต้นสังกัด และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (%) การวิเคราะห์ไขว้ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอ้างอิง คือ ค่าสถิติที (t-test) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์และสร้างข้อสรุป โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการศึกษาสรุปว่าแนวทางฯ มีจำนวน 8 แนวทาง คือ 1) การสื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพกายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2561 2) การจัดทำคู่มือดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3) การพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา
4) การพัฒนาระบบการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-SAR) 5) การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 6) การยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (IQA AWARD) 7) การถอดประสบการณ์ของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (IQA AWARD) และ 8) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการประกันคุณภาพระดับห้องเรียนที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 23ก วันที่ 2 เมษายน. หน้า 22-23.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561. ประกาศวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ม.ป.ป. (เอกสารอัดสำเนา).

กันยารัตน์ กลมกล่อม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับผลการประกันคุณภาพภายในด้านคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยายนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นราจันทร์ กิตติคุณ. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นริศรา ใบงิ้ว. (2561). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเวียงกาหลงวนาเทวี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปรมาภรณ์ อ่อนนุ่ม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. ฉบับกฤษฎีกา, 116(ตอนที่ 74 ก).

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ และสุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การขับเคลื่อนนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สงบ ลักษณะ. (2541). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารข้าราชการครู, 10 (7), 2-7.

สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษา เล่มที่ 3

การพัฒนามาตรฐานการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). OKRs กับการประกันคุณภาพการศึกษา รายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ที่เชื่อมโยงกับ มาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบ OKRs : Objective and Key Results. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สุพัตรา เทศเสนาะ. (2551). การนําเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสูตรมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เสาวนิตย์ ชัยมุสิก. (2545). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

อุดม เชยกีวงศ์. (2543). ศึกษาวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

อุทุมพร จามรมาน. (2544). วิธีทำประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

Harman, G. (1996). Quality assurance for higher education: Developing and managing quality assurance for higher education systems and institutions in Asia and the Pacific. Bangkok: ACEID.

Liston, C. (1999). Managing Quality And Standards. New York : McGraw - Hill.

Ravitch, Diane. (1995). National Standards in American Education: A Citizen's Guide. Brookings Institution, Washington, DC.

Stufflebeam, D.L. (1988). Personal Factors Associated with Leadership A Survey of Literature in Leadership. Marlana: Penguin Book.