รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านและการทำกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้ทางกายของชุมชนสันติราษฎร์ประชาบำรุงและ บ้านหินจอก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

Main Article Content

กิตติมา เทียบพุฒ
ณัฐธร ขุนทอง
ปริญญา ปทุมมณี
สรรปกรณ์ ศุภการนรเศรฐ
จีรนันท์ ปรีชาชาญ
ณัฐกร บุญทวี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษารูปแบบการละเล่นพื้นบ้านและการทำกิจกรรมทางกายของชุมชนบ้านสันติราษฎร์ประชาบำรุงและบ้านหินจอก 2) วิเคราะห์ผลการทำกิจกรรมทางกายของนักเรียนต่อการพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้ทางกายชุมชนสันติราษฎร์ประชาบำรุงและบ้านหินจอก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การละเล่นพื้นบ้านของชุมชน การสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้นำท้องถิ่นและคนในชุมชน จำนวน 35 คน ชาวมานิ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา และแบบสอบถามการทำกิจกรรมทางกายของนักเรียนจำนวน 60 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
           ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านของชุมชน มีการละเล่นพื้นบ้านที่ช่วยพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้ทางกายและสุขภาพ ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา ส่งผลให้เกิดความมั่นใจตนเอง มีทักษะทางกายที่ดีขึ้น มีแรงจูงใจ และมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ปัจจุบันพบว่าการละเล่นบางอย่างได้นิยมกันน้อยลงและทรัพยากรที่ใช้ทำในการละเล่นมีจำนวนน้อยหรือไม่มี ด้านกิจกรรมทางกาย พบว่า นักเรียนใช้เวลาในการทำกิจกรรมทางกายแบบอยู่กับที่ คือ การเล่นโทรศัพท์ รองลงมา คือ การเกมส์ และการเล่นกับเพื่อนโดยการเล่นกีฬาต่าง ๆ จากข้อมูล พบว่า นักเรียนทำกิจกรรมทางกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเพราะใช้เวลากับการเล่นโทรศัพท์และการเล่นเกมส์ กิจกรรมนันทนาการของนักเรียนมานิ จะใช้การเล่นที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติและป่า ได้แก่ การปืนต้นไม้เพื่อหาของป่ามากิน การล่าสัตว์ในน้ำและบนบก การเล่นกับสัตว์เลี้ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2556). “กิจกรรมทางกาย” สุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ, 39, 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 5-15.

ฉัตรสุดา ทรัพย์เจริญ. (2565). ผลของโปรแกรมมกิจกรรมทางกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาพละศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัชชัย โกมารทัต. (2555). กีฬาพื้นเมืองไทยภาคใต้. กรุงเทพฯ : บริษัทเยลโล่การพิมพ์.

นิติพันธ์ บุตรฉุย. (2563). การพัฒนาโปรแกรมความฉลาดรู้ทางกายเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเคลื่อนไหวพื้นฐานของเด็กอายุ 7-9 ปี. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา). คณะพละศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมสญา แทนสง่าและ วรพงษ์ แย้มงามเหลือ. (2565). การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 289-304.

รัฐพล มากพูน. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนกัเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา). คณะพละศึกษา มหาวิทยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลาสินี อดุลยานนท์. (2553). กฎบัตรโตรอนโตเพื่อกิจกรรมทางกาย ข้อเสนอระดับโลกเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 จาก www.ispah.org/s/TorontoCharter_ Thai_FINAL. pdf.

สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. (2548). กีฬาพื้นเมืองภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

อมาวสี สว่างวงศ์, สุธนะ ติงศภัทิย์ และณัฐพร สุดดีม. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(1), 289-304.

Adnan, M., Shaharudin, S., Rahim B. H. A., & Ismail, S.M. (2020). Quantification of physical activity of Malaysian traditional games for school-based intervention among primary school children. Journal of Taibah University Medical Sciences, 15(6), 486-494.

Azlan, A., Ismail, N., Fauzi, N. F.M. & Talib, R. A. (2020). Incorporating Traditional Games in Physical Education Lesson to Increase Physical Activity Among Secondary School Students: A Preliminary Study. Springer Nature Singapore Pte Ltd, 237-245.

Martin, R., & Murtagh, E. M. (2017). Active classrooms: a cluster randomized controlled trial evaluating the effects of a movement integration intervention on the physical activity levels of primary school children. Journal of physical activity and health, 14(4), 290-300.

Martin, R., & Murtagh, E. M. (2015). An intervention to improve the physical activity levels of children: Design and rationale of the ‘Active Classrooms’ cluster randomised controlled trial. Contemporary clinical trials, 41, 180-191.

Martin, R., & Murtagh, E. M. (2017). Effect of active lessons on physical activity, academic, and health outcomes: a systematic review. Research quarterly for exercise and sport, 88(2), 149-168.

McMullen, J. M., Kallio, J., & Tammelin, T. H. (2022). Physical activity opportunities for secondary school students: International best practices for whole-of-school physical activity programs. European Physical Education Review, 28(4), 890-905.

Watson, A., Timperio, A., Brown, H., Best, K., & Hesketh, K. D. (2017). Effect of classroom-based physical activity interventions on academic and physical activity outcomes: a systematic review and meta-analysis. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 14, 1-24.

World Health Organization. (2021). Promoting physical activity through schools: a toolkit. Retrieved on December 5, 2023 from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/

/9789240035928-eng.pdf?sequence=1