ผลกระทบของการเรียนการสอนออนไลน์ระดับมัธยมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาด โรคโควิด-19: มุมมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

Main Article Content

สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
สุริยา ชาปู่

บทคัดย่อ

           การแพร่ระบาดของโรคเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-2019 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง  โดยเฉพาะทางการศึกษา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนสู่การศึกษาผ่านระบบออนไลน์  ซึ่งให้เกิดผลกระทบมากมาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถาณการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีต่อ นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด  กลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนทั้งหมด 1570 คน  ชาย 759 คน และ หญิง 811 คน ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม  84 คนเป็น ชาย 35 และหญิง 49 คน ปีการศึกษา 2564  ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ผู้ปกครองตามจำนวนนักเรียนและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง 4 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามเชิงสำรวจเกี่ยวกับผลกระทบของการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีต่อนักเรียน ต่อครูผู้สอน และต่อผู้ปกครองนักเรียน ชุดคำถามสำหรับการสัมภาษณ์รายบุคคลเกี่ยวกับผลกระทบของการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง และ ชุดคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนได้รับผลกระทบด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนออนไลน์ในระดับปานกลาง แต่ผลกระทบด้านการเรียนรู้ ด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกายอยู่ในระดับมาก ครูผู้สอนได้รับผลกระทบด้านความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ รวมทั้งสภาวะความเครียดและสุขภาพทางกายอยู่ในระดับสูง ส่วนผู้ปกครองได้รับผลกระทบด้านสภาวะความเครียดและข้อกังวลเกี่ยวการเรียน ผลการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียนในช่วงการเรียนออนไลน์และหลังการเรียนออนไลน์ในระยะยาว และผลกระทบต่อผู้บริหารจะพบในประเด็นของเรื่องงบประมาณและการบริหารงานวิชาการ รวมทั้งปัญหาการสื่อสารกับครู นักเรียนและผู้ปกครอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แพทย์สถาบันเด็กฯ. (2565). ‘เรียนออนไลน์’ พ่นพิษ เด็กเกิด ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ถูก ‘ภาวะเนือยนิ่ง’ ครอบงำ กระทบโครงสร้างร่างกาย-จิตใจ. ออนไลน์. สืบค้นเมือ 30 พฤษภาคม 2566 แหล่งที่มา: https://www.thecoverage.info/news/content/3172.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่ การจัดการเรียนรู้ของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา : www.tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and learning-in-covid-19-pandemic.,.

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย :Kenan Foundation Asia. (2020). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ3 ประการ. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564 แหล่งที่มา https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact

วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4 (1), 44-61.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการ เรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Lamanauskas, V., and Makaraskaite-Petkevitciene, R. (2021). Distance lectures in university studies: advantages, disadvantages, improvement. Contemporary Educational Technology, 13 (3), 309-324.

UNESCO. (2020). Education: From disruption to recovery. Online. Retrieved on May 22, 2020 from https://en.unesco.org/covid19/educationresponse