ทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N)

Main Article Content

เยาวนุช ทานาม
วรีย์นันทน์ สิริกรกาญจนา
ประจักร ทานาม
จุฑาธัญย์ พนมรัตนะศักดิ์
สมโชติ จุลกเสตถ์

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงลักษณะประชากรศาสตร์ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLG N) และ 2) ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLG N) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชุมชนตักสิลาและใกล้เคียง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในปีการศึกษา 2565  โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ  ได้กลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการวิจัยเท่ากับ 300 คน จากการส่งแบบสอบถามออนไลน์ (Google forms) ผ่านเครือข่ายชุมชน และอสม. ไปยังผู้บริโภคจำนวน 300  คน ได้รับแบบสอบถามคืน 278 คน หรือร้อยละ 83.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่องทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLG N) ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 65.10 2) ทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์เอนซ์ (GOLD N) เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติและความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน ปรากฏว่าด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.68) ผู้ตอบแบบสอบถามมทัศนคติและความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีทัศนคติและความพึงพอใจอยู่ในระดับมากคือ ด้านประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.48) ด้านความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.46) และด้านคุณสมบัติผลิตภัณฑ์เสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.42) ตามลำดับ


าหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLG N) และ 2) ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLG N) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชุมชนตักสิลาและใกล้เคียง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในปีการศึกษา 2565  โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ  ได้กลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการวิจัยเท่ากับ 300 คน จากการส่งแบบสอบถามออนไลน์ (Google forms) ผ่านเครือข่ายชุมชน และอสม. ไปยังผู้บริโภคจำนวน 300  คน ได้รับแบบสอบถามคืน 278 คน หรือร้อยละ 83.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่องทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLG N) ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 65.10 2) ทัศนคติและความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์เอนซ์ (GOLD N) เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติและความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน ปรากฏว่าด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.68) ผู้ตอบแบบสอบถามมทัศนคติและความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีทัศนคติและความพึงพอใจอยู่ในระดับมากคือ ด้านประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.48) ด้านความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.46) และด้านคุณสมบัติผลิตภัณฑ์เสริมเพื่อสุขภาพโกลด์ เอนซ์ (GOLD N) ( = 4.42) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปัญญาธร และเสาวลักษณ์ ทาแจ้ง. (2563). ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์และการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ของผู้สูงอายุบ้างหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล อุดรธานี 28(2),121-129

ชมพูนุช จิตติถาวร และคณะ. (2560). ทัศนคติและพฤติกรรมการการดูแลสุขภาพและการบริโภคการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใน รายงานสืบเนื่องการ ประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560.

ชวัล วินิจชัยนันท์ และปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อ ควบคุมน้ำหนักของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. WMS Journal of Management Walailak University 6(1) (Jan – Apr 2017): หน้า 84-90

ณัฐนรี ดิษฐาน. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผ่านช่องทาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษา ตามหลักสูตร ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐพิมณฑ์ ภิรมย์เมือง และคณะ. (2555). การรับรู้เครื่องหมายบนฉลากอาหารและการใช้ข้อมูลบนฉลากอาหาร ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 42(2), หน้า 17-28

ธนภูมิ อติเวทิน. (2543). วัฒนธรรมบริโภคนิยมกับอาหารเพื่อสุขภาพในบริบทสังคมเมือง. วิทยานิพนธ์สาขาวิชา มานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธนัฎฐา พริกทอง. (2558). การตัดสินใจซื้ออาหารเสริมประเภทวิตามินเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นักสิทธิ์ ปัญญาใหญ่. (2559). อาหารและโภชนาการ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บัณฑิตาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น และคณะ. (2560). เหตุผลในการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทาง อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. วารสารเภสัช-กรรมไทย, 9(1), หน้า 259-268.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. 2545. “คุณภาพเครื่องมือวัด” ในประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนา เครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา (หน่วยที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในจังหวัด นนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), หน้า 67-79.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. (2522). ราชกิจจานุเบกษาฉบับ. พิเศษ, 96 (ตอนที่ 79 ก). 1-28.

ภาวิณี ตันติผาติ และ กิตติพันธ์คงสวัสดิ์เกียรติ. (n.d.). การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อ สุขภาพของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการ บริหารธุรกิจ, 1(1), 19.

ภูมิพัฒน์ พลราช. (2560). ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. สำนักการบินอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 3). เล่ม 136 ตอนพิเศษ 113 ง (7 พฤษภาคม 2562).

เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์, 2556). คู่มืออาหารเสริมฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม ไอเอส.

ลักขณา อังอธิภัทร และคณะ. (2551). พฤติกรรมการบริโภคและความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก, (กันยายน-ธันวาคม): หน้า 37-45.

วาสนา ยาวิชัย และคณะ. (2557). ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่อสุขภาพของผู้บริโภค. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566 จาก

http://www.agro.cmu.ac.th/absc/data/011.pdf

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ สมวัยภายใต้แผนงานโครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหารปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เข้าถึง เมื่อ 30 เมษายน 2566 จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/files/_Strategy.pdf.