มาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐาน ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐานโรงเรียนของวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างมาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มี 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 1.1 ร่างมาตรฐานและตัวชี้วัดการประเมินมาตรฐาน โดยการสังเคราะห์เอกสาร 1.2 ตรวจสอบร่างมาตรฐานและตัวชี้วัดการสำหรับการประเมินมาตรฐาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง 1.3 ปรับปรุงมาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐาน 1.4 รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อมาตรฐานและตัวชี้วัดการประเมินมาตรฐาน โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย ผู้อำนวยการและครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 36 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 2 การจัดทำคำอธิบายตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มี 2 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1 การจัดทำคำอธิบายตัวชี้วัดการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการและครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 36 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง 2.2 การตรวจสอบคำอธิบายตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัย พบว่า มาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านผลผลิต ประกอบด้วย 14 องค์ประกอบ 45 ตัวชี้วัด และผลการตรวจสอบคำอธิบายตัวชี้วัดสำหรับการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ขนิษฐา ม่วงศรีจันทร์ ฉลอง ชาตรูประชีวิน และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2566). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาศทางการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11 (2), 537-539.
นิติ นาชิต. (2562). การพัฒนามาตรฐาน ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน การบริหารโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1 (6), 13-15.
ปกรณ์ ประจัญบาน. (2558). การพัฒนามาตรฐาน ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17 (4), 9-12.
โพยม จันทร์น้อย สมบัติ คชสิทธิ์ และช่อเพชร เบ้าเงิน. (2557). การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (2), 28-31.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม
สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2554). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวการดําเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.