รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับครู

Main Article Content

ธิติ ธาราสุข
ศกลวรรณ พาเรือง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับครู และ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับครู  กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ กลุ่มครูระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 คน ใช้วิธีการจัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การออกแบบการเรียนรู้ การทดลองตามการออกแบบการเรียนรู้ และ การประเมินการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ ผลการทำกิจกรรม การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา
          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาครูมีความสามารถในการคิดเชิงระบบอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก  ผลการทดลองตามการออกแบบการเรียนรู้พบว่า ครูมีความสามารถในการคิดเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยมีปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียน เนื้อหา กิจกรรม ผู้สอน ระยะเวลา มีความเหมาะสม ส่วนเงื่อนไขของการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ด้านผู้สอน ต้องรอบรู้และเข้าใจหลักการสอนผู้ใหญ่ ด้านระยะเวลา ต้องยืดหยุ่นตามสภาพผู้เรียน เงื่อนไขด้านผู้เรียน ต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเงื่อนไขด้านการวัดและประเมินผล ต้องใช้การประเมินแบบ 360 องศา   


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑา เทียนไทย. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุไร อภัยจิรรัตน์. (2555). ผลของวิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อยต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 5 (1), 19-31.

ชัชวาล ชุมรักษา. (2558). การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง รายการวิทยุกระจายเสียงสำหรับนิสิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสาตรมหาวิทยาลัยทักษิณ. 15 (1), 56-69.

นลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12 (2), 92-105.

มนัสวาสน์ โกวิทยา. (2551). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้นำเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มรกต วงศ์อรินทร์. (2563). ภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า สมุทรปราการ. วิชาค้นคว้าอิสระ. สาขาวิชาการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ คงศิลา. (2552). ภาวะหนี้สินของข้าราชการกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาข้าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา และบางกอกน้อย. งานวิจัยเฉพาะเรื่อง เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรรัตน์ เฉยงาม. (2550). การศึกษากระบวนการเมตาคอกนิชัน ผ่านการสื่อสารด้วยเว็บล็อกในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาโสตทัศนศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of Education objectives. New York: David Mckey Company.

Boyle, Patrick, G. (1981). Planning Better Program. New York: Mc Graw Hill Book Company.

Bumen, T.N. (2007). Effect of the Original Versus Revised Bloom’s Taxonomy on Lesson Planning Skills: A Turkish Study Among Pre-Service Teachers. Review of Education. 53, 6.

C., Kriengsak. (2019). Analytical thinking. Bangkok.

Elder, L., & Paul, R. 2010. The Thinker’s Guide to Analytic Thinking. Dillon Beach, CA: The Foundation of Critical Thinking.

Federica. 2018. Developing a Systems Thinking Integration Approach for Robust Learning. ASEE annual Conference & Exposition, American Society for Engineering Education. In Undergraduate Engineering Courses.

Justice, C., Rice, J., Roy, D., Hudspith, B., and Jenkins, H. (2009). Inquiry-based learning in higher education: adminitrators’ perspectives on integrating inquiry pedagogy in to cirricurum. Higher Education. 58, 841-855.

Marton, F. and Booth, S. (1997). Learning and Awareness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates

McKim, J.A. (2020).“Metacognition, Systems Thinking, and Problem-Solving Ability in School-Based Agriculture, Food, and Natural Resources Education.” Advancements in

Agricultural Development. 1 (1), 38-47.

Moriya. (2015). The impact of metacognitive instruction and explicit teaching system thinking on the biological core concept Homeostasis understanding. Online. Retrieved April 19, 2021. from: https://education.biu.ac.il/sites/education/files/shared/morbaryosef Moriya _.pdf.

Tingsa, C., Jaigla, A., Tamuang, S. and Supasorn, S. (2018). Twelfth Grade students’ achievement and problemsolving ability on properties and reactions of organic compounds from learning by using inquiry incorporated with problem-based learning (in Thai). Journal of Science and Science Education. 1 (1), 97-108.