การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และการเขียนสรุปความโดยการใช้เทคนิคการสอนด้วยผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1

Main Article Content

ฉัตรปวีณ อำภา
ชญาณัช เกตุชาติ
สิริกร ศรีม่วง

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียน 3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความฉลาดรู้ด้านการอ่าน 4) ศึกษาความพึงพอใจ 5) รับรองรูปแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวกัน วัดผลก่อนหลัง กลุ่มตัวคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ 3) แบบสอบถาม 4) แบบวัดความฉลาดรู้ และ5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ความเบ้ ความโด่ง และการกระจาย สถิติ t-test แบบจับคู่ สถิติ Bartlett’s test ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α -Coefficient) ของครอนบาค และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีกระบวนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผนและเตรียมพร้อม 2) ขั้นทำความเข้าใจ 3) ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและการฝึก โดยการใช้กิจกรรมการเขียนผังมโนทัศน์ 4) ขั้นผลลัพท์ และ5) ขั้นประเมินผล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.73/80.47
          2. คะแนนความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน RCRL สูงกว่าการทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
          3. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานองค์ประกอบเชิงยืนยันความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 โดยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความสามารถด้านการเข้าถึงและค้นคืนสาระ ค้นหาและเลือกข้อความที่เกี่ยวข้อง การประเมินและไตร่ตรอง และการนำผลการอ่านไปใช้ โดยมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ระหว่าง 0.82 – 0.96 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุยกกำลังสอง (R2) ระหว่าง 0.65 - 0.92
          4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า คะแนนครั้งที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 86.70 จึงสรุปได้ว่าผู้เรียนมีพัฒนาการความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และการเขียนสรุปความที่ดีขึ้น
          5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14
          6. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เพื่อรับรองรูปแบบ อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7 – 20.

Alamer, A. (2015). The role of EFL learners’ motivation in mobile language learning. In First International Conference on Theory and Practice. (ICTO-2015) (pp. 142-153). Online. September 19 2023. From: https://www.researchgate.net/profile/Abdullah _Alamer5/ publi cation/291521539_THE_ROLE_OF_EFL_LEARNERS'_ MOTIVATION_IN_ MOBILE_LANGUA GE_LEARNING/links/56a3a29a08ae232fb20582b7/THE-ROLE-OF-EFL-LEARNERSMOTIVATION-IN-MOBILE-LANGUAGE LEARNING.pdf

Batdi, V. (2017). The effect of multiple intelligences on academic achievement: A meta– analytic and thematic study Educational Science. Theory and Practice., 17 (2017), pp. 2057-2092.

Colbert, V. & Arboleda, J. (2016). Bringing a student-centered participatory pedagogy to scale in Colombia. Journal of Educational Change,17, 385–410.

Creswell, J. W. (2013). Qualitative Inquiry and research methods:Choosing among five approaches. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.

Delgoshaei, Y. & Delavari, N. (2012).Applying multiple–intelligence approach to education and analyzing its impact on cognitive development of pre–school children. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 32 (2012), pp. 361-366

Maharani, S., Nusantara, T., Rahman, A., & Qohar, A. (2019). Analyticity and systematicity students of mathematics education on solving non-routine problems. Mathematics and Statistics. 7 (2), 50-55.

Ritchie SJ, Luciano M, Hansell NK, Wright MJ. Bates TC. (2013). The relationship of reading ability to creativity: Positive, not negative associations. Learning and Individual Differences. 26, 171–176.

Voss, T., Kunter, M., & Baumert, J. (2011).Assessing teacher candidates’ general pedagogical / psychological knowledge: Test construction and validation. Journal of Educational Psychology. 103 (4), 952-969.