การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เรื่องระบบพวงมาลัยไฟฟ้าในยานยนต์สมัยใหม่สำหรับนักศึกษาสาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

ธนัช ศรีพนม
อัญญารัตน์ สอนสนาม
สมพร วงษ์เพ็ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติเรื่อง ระบบพวงมาลัยไฟฟ้าในยานยนต์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหน่วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้กับงานวิจัยคือ นักศึกษาสาขาครุศาสตร์เครื่องกลชั้นปีที่ 2 จำนวน 25 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชางานเครื่องล่างและระบบส่งกำลังรถยนต์ ในปีการศึกษาที่ 1/2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เรื่องระบบพวงมาลัยไฟฟ้าในยานยนต์สมัยใหม่ 2) แบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (Independent samples t-test)
         ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกปฏิบัติพวงมาลัยไฟฟ้าในยานยนต์สมัยใหม่และสื่อประกอบการสอนมีค่าประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ E1/E2 เท่ากับ 64.40/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของชุดฝึกปฏิบัติพวงมาลัยไฟฟ้าในยานยนต์สมัยใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติพวงมาลัยไฟฟ้าในยานยนต์สมัยใหม่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกฤษ ขำยัง. (2563). การพัฒนาชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐานเรื่อง วงจรไฟกระพริบเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง. 4 (2), 55-61.

ฉลองวุฒิ ศรีทองบริบูรณ์. (2563). การพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่อง งานตัด งานเจียระไน และงานเจาะ ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12 (1), 281-296.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). ชุดการเรียนการสอน. ในประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). หน่วยที่ 14. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบการทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-19.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัช ศรีพนม, วรพจน์ ตรีรัตน์ฤดีม วิโรจน์ บัวพันธุ์, ธีระชัย รัยวรัก และวิศิษฐ์ อ้อนประสงค์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดสาธิตฝึกปฏิบัติยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาสาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง. 6 (2), 27-35.

ประสานพงษ์ หาเรือนชีพ. (2549). งานเครื่องล่างรถยนต์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไพลิน สว่างเมฆารัตน์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วีรยุทธ ด้วงใย. (2566) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาแคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (2), 1-18.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566. แหล่งที่มา : https://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf.

อัญญารัตน์ สอนสนาม, สมพร วงษ์เพ็ง, ภาวินี อ่างบุญตา, สุภารัตน์ บุตรไชย และธนัช ศรีพนม. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้ผ่าน Google Sites รายวิชาวัสดุอุตสาหกรรมและการผลิต. Journal of Modern Learning Development. 7 (9), 327-340.

อัญญารัตน์ สอนสนาม สมพร วงษ์เพ็ง และธนัช ศรีพนม. (2566). การพัฒนาสื่อการสอนชุดจำลองแขนกลอุตสาหกรรมร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องกระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ สำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ. Journal of Modern Learning Development. 8 (10), 493-502.