อาชญากรรมทางเทคโนโลยี:กฎหมายและแนวทางการป้องกันแบบบูรณาการ

Main Article Content

อภิชาติ บวบขม

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กฎหมายและบทลงโทษอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตลอดจนแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแบบบูรณาการ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ความผิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ความผิดที่เกิดขึ้นกับข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ กลุ่ม 2 ฉ้อโกงหรือหลอกลวง โดยการใช้ข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์มากระทำผิด หลอกลวง ปกปิดเท็จจริงที่ควรบอก แสดงตนเป็นบุคคลอื่น โดยอาศัยความเชื่อใจ ความโลภ ความหลง ความกลัว  กลุ่ม 3 ฉ้อโกงประชาชน หลอกลวงให้ทำการลงทุนหรือทำธุรกิจ โดยการใช้ข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์มากระทำผิด หลอกลวง ปกปิดเท็จจริงที่ควรบอก แสดงตนเป็นบุคคลอื่น กลุ่ม 4 ใช้เทคโนโลยีกระทำให้เกิดความเสียหายต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ความผิดทางเพศและต่อผู้เยาว์  ความผิดของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นความผิดและมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นหลัก และมีกฎหมายอื่น ได้แก่  ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 แนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแบบบูรณาการที่เหมาะสม มี 2 ประการ ดังนี้  1) มาตรการเชิงบริหารหรือเชิงนโยบาย 2) มาตรการเชิงปฏิบัติ  องค์ความรู้ใหม่ คือ การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านทางสื่อสังคม การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเพื่อการดักจับมิจฉาชีพที่ก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี และการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายที่ให้ความรู้ แจ้งข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นการป้องกันภัยจาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

“พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2557”, ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 101 ตอนที่ 164 ก, 12 พ.ย.2557, หน้า 1

“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒”, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่72 ก, 4 พ.ค. 2522, หน้า 20

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550”, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 27 ก, 18 มิ.ย.2550, หน้า 4

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560”, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 10 ก, 24 ม.ค.2560, หน้า 24

“พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2599, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่73 ตอนที่ 95ก, 15 พ.ย.

, หน้า 1

วาสิน มีธรรม และบัณฑิต ขวาโยธา (2564). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 . วารสารปัญญาปณิธาน. 6(1) , 135-146

สรวิศ บุญมี. (2566).ภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจสู่อาญากรรมทำงเทคโนโลยี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 17( 2), 19-26.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.(2566). รายงานสถิติการหลอกลวงทางออนไลน์ 1 มีนาคม 2565- 31 พฤษภาคม

ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา http://www.thaipoliceonline.com

Halder, Debarati, Jaishankar, Karuppannan, & Jaishankar, K. (2012). Cyber crime and the victimization of women: laws, rights and regulations: Information Science Reference

Meland, H.P., Tokas,S., Erdogan, G., Bernsmed,K. & Omerovic,A.(2021) A Systematic mapping

study on cyber security indicator data. Electronics. 10, e1092. https://doi.org/10.3390/electronics10091092

Shelly, G., & Vermaat, M. (2010). Discovering Computers 2011: Complete: Cengage Learning.