พุทธนวัตกรรมการพัฒนาวัคซีนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางรองรับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในชุมชน พื้นที่เสี่ยงจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี
รัตติกร ชาญชำนิ
วราภรณ์ ชนะจันทร์ตา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการจัดการวัคซีนทางสังคม 2) พัฒนาวัคซีนทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) นำเสนอพุทธนวัตกรรมวัคซีนทางสังคมสำหรับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสุขภาวะของผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบาง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ 1) กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 250 คน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการจัดการวัคซีนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการสร้างชุมชนที่รู้สึกสงบ ด้านการสร้างชุมชนที่รู้สึกปลอดภัย ด้านการสร้างชุมชนที่เข้าใจให้โอกาส ด้านการใช้สายสัมพันธ์ในชุมชน ด้านการใช้ศักยภาพของชุมชน และด้านการสร้างสังคมที่รู้สึกมีความหวัง ตามลำดับ 2) การพัฒนาวัคซีนทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ควรจัดพื้นที่สร้างสิ่งแวดลอมในชุมชนที่เอื้อใหเกิดความปลอดภัยและเหมาะสม ยกระดับความเข้มข้นของกฏระเบียบและมาตรการชุมชนโดยบังคับใช้อย่างจริงจัง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถจัดการอารมณ์ ความเครียด ความกังวล เพื่อทำใจให้ตระหนักแต่ไม่ตระหนกได้อย่างมีสติ เสริมสร้างความหวังให้มีพลังเชิงบวกในการดูแลตนเองและครอบครัวพร้อมที่จะต่อสู้กับปัญหา 3) พุทธนวัตกรรมวัคซีนทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ 3.1) ด้านสุขภาวะทางร่างกาย ควรมุ่งเน้นพัฒนาความสัมพันธ์ของชีวิตทางร่างกายกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ โควิด 3.2) ด้านสุขภาวะทางสังคม ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมให้มีขันติธรรม คืออดทนต่อการกักตัวอยู่กับบ้านต่อเนื่องเป็นเวลานาน  3.3) ด้านสุขภาวะทางจิต ควรฝึกสติด้วยหลักสติปัฏฐานโดยใช้เป็นเครื่องมือในการรู้ทันจิตรู้ทันอารมณ์ของตนเอง ให้คลายความยึดถือตามหลักอุเบกขาธรรมและรู้จักการใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท และ 3.4) ด้านสุขภาวะทางปัญญา ควรประยุกต์ใช้ปัญญาธรรมพิจารณารู้เท่าทันเหตุการณ์ที่มากระทบไม่ว่าดีหรือร้าย รู้จักพิจารณาคัดกรองข่าวสารด้วยปัญญาไม่เชื่อง่ายตามหลักกาลามสูตร และฝึกอบรมให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ อินทบุญศรี. (2563). การมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพประชาชนในวิกฤตโควิด-19 ในเขตอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตรอยเอ็ด. 9 (2), 625-635.

จงจิต ปินศิริ. (2565). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนด้านปกครองในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารสภาการสาธารสุขชุมชน. 4 (3), 105-114.

ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2560). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (3), 176-188.

บุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). โควิด-19 แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบระดับพื้นที่ จังหวัดเลย ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7 (1), 16–34.

พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ. (2563). การปรับพฤติกรรมสุขภาวะองค์รวมของมนุษย์ในสังคมไทยกับโรคโควิด-19 ตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 3 (7), 85-96.

แพรว ไตลังคะ และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2564). มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด COVID – 19. สืบค้นจาก https://www.thaidmh-elibrary.org/content/7191/

วรวุฒิ ชมภูพาน และคณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการปรับวิถีชีวิตต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 31 (1), 45-55.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 12 (2), 323-337.

วิภา สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2565). การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในชุมชนในสถานการณ์ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 8 (1), 1-14.

วิรัตน์ ซอระสี. (2565). การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาชุมชนบ้านดง จังหวัดลำปาง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 30 (4), 307-318.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2564). เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www. moicovid.com/

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2564). วัคซีนโควิดมาแล้ววัคซีนทางสังคมยังจำเป็นอยู่ไหม. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.nationalhealth.or.th/th/node/3202