ประสิทธิภาพการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งเป็นสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ และให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สมาชิก มีจำนวนสมาชิกและทุนดำเนินงานแตกต่างกัน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสหกรณ์เป็นไปโดยคณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ที่มีกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย การที่สหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ได้เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ส่งผลให้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ขาดการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิก วิเคราะห์จากสภาวการณ์ทางการเงินภายในและผลตอบแทนที่สหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเป็นหลัก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของสหกรณ์ออมทรัพย์จึงเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงถือเป็นความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์
งานวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ตามหลักการ CAMEL Analysis ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการ และผู้บริหารที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสหกรณ์ออมทรัพย์ ในกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์นักวิชาการ โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 17 คน การวิจัยิเชิงประมาณใช้ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลจากรายงานการเงิน ประกอบด้วย งบดุลงบกำไรขาดทุน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2561-2565 จำนวน 302 แห่งนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการทางการเงิน
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพแวดล้อมภายใน พบว่า ด้านโครงสร้างองค์กรมีความชัดเจนเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน มีคณะกรรมการดำเนินงาน มีฝ่ายจัดการซึ่งปฏิบัติงานตาม ระเบียบ/ข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยคณะกรรมการมาจากการเลือกตั้งจากสมาชิก สมาชิกจะเลือกตั้งตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ให้เข้ามาบริหารในสหกรณ์ ตัวแทนสมาชิกเหล่านี้ คือ คณะกรรมการดำเนินงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 7-15 คนโดยคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้บริหารงานแทนสมาชิกตามหลักการสหกรณ์ ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และกฎหมาย ในด้านกฎหมายสหกรณ์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้สหกรณ์ออมทรัพย์มีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น มีหน่วยงานราชการดูแลมีการจัดการอบรมบุคลากรที่ขาดความรู้ ความสามารถเฉพาะทางในเรื่องของการเงิน บัญชี ในด้านอุปสรรค พบว่าภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามนโยบาย ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสหกรณ์ออมทรัพย์สูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มอัตราการเติบโตของกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยต่ำกว่าอัตราส่วนค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย6.20)
Article Details
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2561). สารสนเทศสน่ารู้ทางการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ประจำปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์.
สุพรรณนิกา ศรีพูล. (2559). ประสิทธิภาพการดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ศิริวรรณ อัศววงศ์เสถียร, กันตภณ ศรีชาติ และ รัฐศาสตร์ หนูดำ. (2560). บทบาทและความเสี่ยงของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์และธนาคารแห่งประเทศไทย.
Ali Sulieman Alshatti. (2015). The Effect of the Liquidity Management on Profitability in the Jordanian Commercial Banks. International Journal of Business and Management. 10, (1), 20.
F. J. Aguilar. (1967). Scanning the Business Environment,” MacMillan Co., New York.
Shafawaty Mohamad Shabri. (2016). The Effects of Internal Control Systems on Cooperative'sProfitability:A Case of Koperasi ABC Berhad. International Review of Management and Marketing. 2016, 6(S8) 240-245.