วิเคราะห์การพัฒนาจังหวะแนวทํานองของนักเทเนอร์แซกโซโฟน จอห์น เอลลิส
Main Article Content
บทคัดย่อ
จอห์น เอลลิส นักแซกโซโฟนนักและประพันธ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในด้านการใช้กลุ่มจังหวะในการบรรเลงซึ่งแตกต่างจากนักแซกโซโฟนท่านอื่นอย่างเห็นได้ชัดและควรค่าแก่การศึกษา
การวิจัยนี้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เทคนิคการสร้างแนวทำนองที่สอดคล้องกับการพัฒนากลุ่มจังหวะ ของ จอห์น เอลลิส ผู้วิจัยได้เลือกผลงานชุด When the world was young ในการถอดและวิเคราะห์ประกอบไปด้วย 6 เพลงได้แก่ 1. Ba-Lue Bolivar Ba-Lues-Are 2. Star Eyes 3. When the world was young 4. How High the Moon 5. Solar 6. Goodbye โดยทั้ง 6 บทเพลงมีความแตกต่างกันในด้านสังคีตลักษณ์ อัตราจังหวะและแนวเพลง
จากการวิเคราะห์พบว่า จอห์น เอลลิส มีเทคนิคการสร้างวลีประโยคจากกลุ่มจังหวะได้ 3 รูปแบบ 1. การใช้เทคนิคดัดแปลงกลุ่มจังหวะ (Motivic development) 2. การเปลี่ยนตำแหน่งของจังหวะย่อยในวลีประโยค (Rhythmic and melodic displacements) และ 3.การสร้างประโยคถามตอบ (Questions and answers) ส่งผลให้เกิดอิสระทางการสร้างวลีประโยคที่เกิดจากใช้กลุ่มจังหวะและแนวทำนองในรูปแบบที่ซับซ้อน นำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์มาสร้างตัวอย่างการด้นสดจำนวน 1 เพลง 1. All the things you are (Jerome Kern) พบว่า การใช้เทคนิคตามแนวคิดของ จอห์น เอลลิส แสดงให้เห็นถึงลักษณะวลีประโยค,การเคลื่อนของจังหวะย่อย,การใช้ตัวหยุดและการสร้างประโยคโดยใช้การขยายกลุ่มจังหวะเป็นตัวขับเคลื่อน
Article Details
References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2551) สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกศ กะรัต
จารุ ลิ่มศิลา. (2555). การวิเคราะห์การบรรเลงคีตปฏิภาณของ คริส พอตเตอร์. วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
อิทธิเทพ ชุมเมฆ. (2564). วิเคราะห์การบรรเลงกลองชุดด้วยไม้แส้ของ เจฟ แฮมิลตัน. วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Michael Verity.(2019) The Evolution of Jazz Saxophone Styles.ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563.แหล่งที่มา https://www.liveabout.com/a-history-of-the-saxophone-in-jazz-2039580