การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ตฯ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนต้องปรับตัวตามวิถี New normal โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ฯ จึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อทบทวนรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัยและพัฒนานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและปัญหาในการบริหารโรงเรียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียน และ 3) ประเมินรูปแบบ ผู้วิจัยดำเนินการตามกรอบการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) R1D1 ศึกษาปัญหา พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการบริหาร 2) R2D2 ปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ และ 3) R3D3 ประเมินและสรุปรูปแบบ โดยในแต่ละระยะผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา การจัดประชุมกลุ่มจากกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามออนไลน์เพื่อประเมินรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า ที่ผ่านมา โรงเรียนจัดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าค่าเป้าหมาย แต่โรงเรียนมีจุดที่ควรปรับปรุง คือ ในปีการศึกษา 2562 ผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมาย โดยรูปแบบการบริหารโรงเรียนหรือ DALIS Model (Design-Action-Learning-Integration-Sustainability) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการมีส่วนร่วม สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ และร่วมกันรับผิดชอบในการจัดการศึกษาตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผลการประเมินพบว่า DALIS Model เป็นรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพในระดับมาก (𝝁 = 4.4936, S.D. = 0.6434) และทำให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารในระดับมากที่สุด (𝝁 = 4.6343, S.D. = 0.6634)
Article Details
References
ธนาพล จีรเดชภัทร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค สระบุรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ ฯ. 9(3), 376–390.
ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อ
ปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2558). การใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา. 9(2), 68–78.
นันทิยา นุ่นจุ้ย และกัลยมน อินทุสุต. (2562). การบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi.
(11), 340–355.
บดินทร์ภัทร์ สายบุตร. (2562). กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจยวิชาการ. 2(1), 39–53.
ปิยวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโร
นา 2019 (COVID-19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา:
https://;ibrary.parliament.go.th/sites/default/files/works/academic.
เริงชัย ปรังเจะ. (2565). การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA โครงการสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=184601.
วรพงษ์ เถาว์ชาลี. (2557). ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับการเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2), 852–
โศภิดา คล้ายหนองสรวง และสุเมธ งามกนก. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์. 27(2).
–146.
สุขสันต์ สุขสงคราม. (2564). แนวคิดการบริหารแบบวงจรคุณภาพ (PDCA) กับการบริหารแบบพระพุทธศาสนา.
วารสารธรรมวัตร. 2(2), 39–49.
สุมนา ธิกุลวงษ์. (2564). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อเสริมสร้าง
คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 7(1), 58–69.
สุริดา หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา
http://202.29.32.238/medias/ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหาร
สถานศึกษาฯ.pdf.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2560). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA). ออนไลน์. สืบค้น
เมื่อ 9 มกราคม 2563. แหล่งที่มา https://www.ha.or.th.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้าราชการไทย (พ.ศ.
– พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา
https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542.pdf.
Dotterer, A. M. & Lowe, K. (2011). Classroom context, school engagement, and academic
achieve in early adolescence. Journal of Youth and Adolescence. 40 (12), March 2011,
– 1660. DOI: 10.1007/s10964-011-9647-5.
Huang, J., Tang, Y., He, W., & Li, O. (2019). Singapore’s School Excellent Model and Student
Learning: Evidence from PISA 2012 and TALIS 2013. Asia Pacific Journal of Education. February 2019. 1-17. DOI: 10.108/02188791.2019.1575185.