สุนทรียภาพของอิฐฉินกระเบื้องฮั่นในเมืองหนานหยาง

Main Article Content

อวี่ หลู
พงศ์เดช ไชยคุตร
ภรดี พันธุภากร

บทคัดย่อ

           “อิฐฉินกระเบื้องฮั่น” เครื่องเคลือบที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมจีนโบราณ ที่ไม่ได้เป็นเพียงศิลปะที่มีรูปแบบอันงดงามประณีตเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมที่มีคุณค่าควรแก่การสืบทอด ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ด้านหนึ่งคือเพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ของอิฐฉินกระเบื้องฮั่น ในเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน และอีกด้านหนึ่งคือวิเคราะห์สุนทรียภาพของอิฐฉินกระเบื้องฮั่น ด้วยแนวคิดสุนทรียภาพสมัยใหม่ สะท้อนถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมราชวงศ์ฉินและฮั่น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งได้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์หลิวเค่อ (Liu Ke) ผู้เชี่ยวชาญด้านอิฐฉินกระเบื้องฮั่น และได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ จากการสรุป เรียบเรียง และวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เอกสารทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์ประเด็นหลัก พบว่าอัตลักษณ์ของอิฐฉินกระเบื้องฮั่นมีลักษณะ รูปร่าง และสาระสำคัญที่แตกต่างกัน
           ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาและวิเคราะห์จากสาระสำคัญ การจัดองค์ประกอบภาพ รูปแบบการผสมผสาน ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ความต้องการด้านสุนทรียภาพ แรงบันดาลใจทางจิตวิญญาณ  และเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของภาพนั้น ใช้องค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมในการแสดงออกถึงแนวคิดและความหมายแฝง ทั้งนี้เทคนิค เส้นสาย รูปทรงและลักษณะอื่นๆ ยังแสดงถึงสุนทรียภาพของราชวงศ์ฉินและฮั่น ตลอดจนความงามแบบลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋าอีกด้วย ซึ่งสุนทรียภาพและความหมายแฝงทางวัฒนธรรมเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและออกแบบเครื่องเคลือบร่วมสมัย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความหมายแฝงด้านสุนทรียศาสตร์ของราชวงศ์ฉินและฮั่น ขณะเดียวกันก็เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนดั้งเดิมอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cheng, H. (2008). A preliminary study of Han dynasty portrait bricks in the Nanyang area. Journal of Sichuan Institute of Education. (8), 45-46.

Hong, Z. (2018). History of Chinese Art. Hangzhou: China Academy of Art Press.

Li, Z. (2001). The course of beauty. Tianjin: Tianjin Academy of Social Sciences Press.

Tian, G. (2014). The cultural and artistic value of Qin brick Hanwa. Chinese calligraphy. (1), 92.

Zhang, D. (2006). Han painting stories. Chongqing: Chongqing University Press.

Zhu, C. (2017). The beauty of Han portraits. Beijing: The Commercial Press.